การประเมินและติดตามผลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ผู้แต่ง

  • ยุทธภัณฑ์ พินิจ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ยังซัน ชิน มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • สิรพร วีระเศรษฐ์ศิริ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, รูปแบบการประเมินซิปป์โมเดล, มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ด้านบริบทของหลักสูตร ปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร กระบวนการของหลักสูตร และผลผลิตของหลักสูตร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมินผล โดยใช้รูปแบบ CIPP Model ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ อาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษา และผู้ใช้บัณฑิต รวมจำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน มีคะแนนเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจาณาตามรายด้าน พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับจากมากที่สุดไปน้อยสุด ได้แก่ 1) ด้านบริบทของหลักสูตร โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.71) ซึ่งค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร รายวิชาของหลักสูตร และโครงสร้างของหลักสูตร 2) ด้านกระบวนการของหลักสูตร โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.49) ซึ่งค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ประจำกลุ่มนักศึกษา กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา และกลุ่มผู้ใช้บัณฑิต 3) ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร                โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.36) ซึ่งค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ประจำ กลุ่มผู้สำเร็จการศึกษา และกลุ่มนักศึกษา และ 4) ด้านผลผลิตมีคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.24) โดยทุกกลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กรภัสสร อินทรบำรุง. (2558). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย, 8(1), 700-713.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: เอ็น. เอ. รัตนะเทรดดิ้ง.

ทนงศักดิ์ โพธิ์เกตุ. (2563). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร โรงเรียนบ้านดอนแยง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(10), 287-300.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร . ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มูฮามัสสกรี มันยุนุ และคณะ. (2556). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาแบบบูรณาการอิสลามโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาคารโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 8(14), 9-25.

ระพีพัฒน์ หาญโสภา และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนร่มโพธิ์ทองธรรมวิทย์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(11), 18-31.

วชิระ จันทราช. (วชิระ จันทราช). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหนคร: อาร์แอนด์ปริ้น.

ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2555). การประเมินหลักสูตร (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2553). การประเมินหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. เรียกใช้เมื่อ 12 สิงหาคม 2562 จาก http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). การประเมินคุณภาพการศึกษา ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ

ปี สมศ ทิศทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) (น. 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

สำราญ มีแจ้ง. (2558). การประเมินโครงการทางการศึกษา: ทฤษฎีและปฏิบัติ. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2560). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 12-27.

อิศเรศ พิพัฒน์มงคลพร และคณะ. (2556). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Madaus, G. F. & Stufflebeam, L. S. D. (1988). Education Evaluation: Classic Works of Ralph W. Tyler. London: Kluwer Academic Publishers.

Stufflebeam, D. L. & Cortn, L. S. C. . (2014). Evaluation theory, models & applications. Evaluation theory, models & applications: Jossey-Bass.

Stufflebeam, D. L. & Shinkfied, A. J. (2007). Evaluation theory, models & applications. CA: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2022

How to Cite

พินิจ ย. ., ชิน ย. ., & วีระเศรษฐ์ศิริ ส. . (2022). การประเมินและติดตามผลหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคริสตศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน . วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 193–205. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/259294

ฉบับ

บท

บทความวิจัย