นิทานพื้นบ้านที่สัมพันธ์กับมิติการตีความทางวัฒนธรรม นิเวศวิทยาวัฒนธรรมและแหล่งโบราณคดี
คำสำคัญ:
นิทานพื้นบ้าน, นิเวศวิทยาวัฒนธรรม, แหล่งโบราณคดีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษานิทานพื้นบ้านที่สัมพันธ์กับมิติการตีความทางวัฒนธรรม นิเวศวิทยาวัฒนธรรม และแหล่งโบราณคดี ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ในเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักมีจำนวน 50 คน ผู้วิจัยลงภาคสนามเก็บข้อมูลในชุมชนรอบๆแหล่งโบราณคดี ระหว่างมกราคม 2018 - กุมภาพันธ์ 2019 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้ตารางวิเคราะห์เนื้อหาแบบสามเส้า คือ สอบทานและสังเคราะห์บทสัมภาษณ์ทำเป็นข้อความที่มีความหมายแฝงเชิงค่านิยมและจารีต 50 ประเด็น และเน้นการพรรณนาเชิงลึก โดยคัดกรองได้นิทานพื้นบ้าน 15 เรื่อง ผู้วิจัยนำผลข้อความสัมภาษณ์ตามตารางวิเคราะห์เนื้อหามาสร้างเป็นแบบสอบถาม 50 ข้อแนวลิเคอร์ท แล้วทำการสำรวจคนไทยจำนวน 500 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้วิธีการสกัดองค์ประกอบแล้วพิจารณาค่าไอเกน โดยการหมุนแกนด้วยวิธีออร์โธกอนอล แบบแวริแมกซ์ แล้วตั้งชื่อองค์ประกอบ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบมีค่าไอเกนมากกว่า 1 มีทั้งหมด 4 องค์ประกอบ: 1) 15 นิทานพื้นบ้านที่สัมพันธ์กับแหล่งโบราณคดีในพุทธศาสนสถาน 2) ภาษาของนิทานพื้นบ้านเป็นกุญแจสำคัญการเผยแผ่พุทธศาสนาและสร้างพุทธศาสนิกชนที่ดี 3) นิทานพื้นบ้านสัมพันธ์กับนิเวศวิทยาวัฒนธรรม 4) นิทานพื้นบ้านและคติชนวิทยาสัมพันธ์กับการตีความทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า นิทานพื้นบ้านทั้ง 15 เรื่องเป็นนิทานร่วมสมัย ร่วมนิเวศวิทยาวัฒนธรรม สะท้อนคติชนวิทยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความสัมพันธ์กับมิติการตีความทางวัฒนธรรม นิเวศวิทยาวัฒนธรรม แหล่งโบราณคดี และภาษาของนิทานพื้นบ้านเป็นกุญแจสำคัญในการเผยแผ่พุทธศาสนา
References
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2516). คติชาวบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยฯ.
นายสุลิจัก แสงทอง. (15 ตุลาคม 2559). เทคโนโลยีบุญบั้งไฟและนิทานพื้นบ้านเรื่องผาแดงนางไอ่. (ธีติมา พนมเสริฐ, ผู้สัมภาษณ์)
พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตโต. (2599). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก.
พิพัฒน์ ประเสริฐสังข์. (2557). ลักษณะการนำเสนอและบทสะท้อนสังคมวัฒนธรรมในวรรณกรรมชาดกพื้นบ้านอีสานของพระอริยานุวัตรเขมจารี. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รัตนพล ชื่นค้า และคณะ. (2560). นิทานเรื่องนางสิบสอง-พระรถเมรี: การถ่ายทอดเรื่องเล่าพื้นบ้านในอาคเนย์. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55 วันที่ 31 มกราคม - 3กุมภาพันธ์ 2560 ภาควิชาวรรณกรรม สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิราพร ณ ถลาง. (2548). คติชนกับคนไทย-ไท. รวมบทความทางด้านคติชนวิทยาในบริบททางสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2564). โนราภาคใต้ได้จากภาคกลาง ต้นทางไม่ใช่นาฏศิลป์อินเดีย. เรียกใช้เมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://www.matichonweekly.com/magazine-column/sujit-wongthes/page/3
อนุกูล ตันสุพล. (2016). นิเวศวิทยาวัฒนธรรม: กุญแจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 193-221.
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2559). นิทานพระรถ-เมรี ในวรรณกรรมพื้นบ้าน: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
อรัญญา แสนสระ และนันชญา มหาขันธ์. (2561). นิทานพื้นบ้านกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 7(1), 53-66.
Thompson, S. (1977). The Folktale. London: University of California Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.