การพัฒนารูปแบบประเมินมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพอาจารย์สาขาวิชา ด้านธุรกิจการบินในสถาบันอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • อรัญญา พิสิษฐเกษม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศศิธร กาญจนสุวรรณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สมคิด พรมจุ้ย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช - มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ภาสกร จันทน์พยอม มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

รูปแบบประเมิน, สมรรถนะวิชาชีพ, ธุรกิจการบิน, สถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบประเมินมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพอาจารย์สาขาวิชาด้านธุรกิจการบินในสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยเป็นแบบผสมผสานโดยดำเนินการวิจัย 2 ระยะ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบประเมิน โดยขั้นตอนที่ 1 ร่างรูปแบบประเมินโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 8 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นประเด็นคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ และวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบประเมิน โดยวิธีการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือการวิจัย คือ ประเด็นคำถาม และแบบประเมินคุณภาพรูปแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบประเมิน โดยทดลองใช้รูปแบบประเมินกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาด้านธุรกิจการบิน ผู้ทดลองใช้ คือ คณาจารย์ จำนวน 11 คน และนักศึกษา จำนวน 166 คน เครื่องมือการวิจัยคือ 1) รูปแบบประเมิน 2) คู่มือประเมิน และ 3) ประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบประเมินประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ เป้าหมายของการประเมิน มาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพ วิธีประเมินและเครื่องมือ และ การให้ข้อมูลย้อนกลับ รูปแบบประเมินมีมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และมีมาตรฐานด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมาก และ 2) ประสิทธิผลของรูปแบบประเมิน พบว่า รูปแบบประเมินมีประสิทธิผลด้านความเป็นประโยชน์ ได้แนวทางการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ แนวทางการสนับสนุนอาจารย์ ผลการประเมินนำมาใช้งานด้านอื่น ๆ ผลการประเมินมีความตรงเชิงประจักษ์ และผู้ทดลองใช้รูปแบบประเมินมีความพึงพอใจต่อรูปแบบประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. เรียกใช้เมื่อ 16 กันยายน 2561 จาก http://www.oreg. rmutt.ac.th/AMS/BCH_2548.pdf

การประปาส่วนภูมิภาค. (2560). โครงการวิเคราะห์สมรรถนะความสามารถของพนักงานเพื่อการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. เรียกใช้เมื่อ 16 กันยายน 2561 จาก http://hrm.pwa.co.th/uploads/article/file/20080930134428.pdf

จินตนา ไพบูลย์ธนานนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชนะ กสิภาร์. (2555). มาตรฐานอาชีพ เอกสารประกอบการใช้ทดลองประเมินสมรรถนะวิชาชีพบุคลากรตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพ. เรียกใช้เมื่อ 16 กันยายน 2561 จาก http://thaivq.org.

ชวนนท์ จันทร์สุข. (2559). การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะด้านการดูแลอย่าเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมชนก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 10(2), 71-78.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญศรี พรหมมาพันธ์. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานการประเมิน ใน สาขาวิชาศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, เอกสารการสอน ชุดวิชา วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา หน่วยที่ 6. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปาริฉัตร อุทัยพันธ์. (2553). การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาเทคนิคเภสัชกรรม วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. ในดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการประเมินการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยะพงศ์ กู้พงศ์พันธ์. (2561). รูปแบบการประเมินสมรรถนะผู้ตัดสินกีฬาแบดมินตัน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2). (2561). เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ.2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 199 ง หน้า19 (17 สิงหาคม 2561).

ลัฐกา เนตรทัศน์. (2562). การส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินของอาเซียนฝ่ายอาเซียนและกิจการต่างประเทศ กองกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. เรียกใช้เมื่อ 16 มกราคม 2563 จาก https://lawforasean. krisdika.go. th/File/files/Article_May2_AviationHub.pdf

ศรายุทธ รัตนปัญญา. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะโดยประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลังอำนาจสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการประเมินการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ.

สุเทพ เมยไธสง. (2564). การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการเชิงรุกโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางใจและประสิทธิผลของโรงเรียน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(3), 33-47.

อรวรรณ สัมภวมานะ. (2554). การพัฒนารูปแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหน่วยบริการปฐมภูมิ. ใน ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

American Institutes for Research. (2016). Eight Key Components of Teacher Evaluation Models. Retrieved December 16, 2019, from http://resource. tqsource.org/ evalmodel/

Maaleki, A. (2018). The arzesh competency model: appraisal & development manager’s competency model. London: Lambert Academic Publishing.

World Tourism Organization. (2019). 2019Madrid. Madrid: UNWTO.

Zeravikova, I. et al. (2015). The analysis of professional competencies of a lecturer in adult education. Retrieved March 3, 2020, from http://www.ncbi. nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4456596/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2022

How to Cite

พิสิษฐเกษม อ., กาญจนสุวรรณ ศ., พรมจุ้ย ส. . ., - ม. ., & จันทน์พยอม ภ. . . (2022). การพัฒนารูปแบบประเมินมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพอาจารย์สาขาวิชา ด้านธุรกิจการบินในสถาบันอุดมศึกษา . วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(6), 451–467. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/259375

ฉบับ

บท

บทความวิจัย