ผลกระทบของการดำเนินงานองค์กรการเงินฐานราก ต่อภาคครัวเรือนยากจนไทย
คำสำคัญ:
องค์กรการเงินฐานราก, ระดับรายได้ของครัวเรือน, ระดับรายจ่ายของครัวเรือน, ครัวเรือนยากจนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรการเงินฐานรากที่มีต่อระดับรายได้และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนยากจนไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติจำนวน 26,107 ครัวเรือนจากจำนวนครัวเรือนไทยทั่วประเทศ ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 2562 โดยใช้แบบจำลองข้อมูลระยะยาว Fixed-effects ในการประมาณค่า ผลการศึกษาพบว่า 1) การเป็นสมาชิกขององค์กรการเงินฐานรากทำให้ระดับรายได้และรายจ่ายของครัวเรือนยากจนน้อยกว่าครัวเรือนที่ไม่เป็นสมาชิกองค์กรการเงินฐานรากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 2) ครัวเรือนยากจนไทยในระดับต่ำสุดมากถึงร้อยละ 66.30 ที่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรการเงินฐานรากและไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินขององค์กรการเงินฐานราก ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกลุ่มองค์กรการเงินฐานรากเอกชนควรมุ่งเน้นการช่วยเหลือกันแบบใกล้ชิดจากการเป็นสมาชิกในชุมชนเดียวกัน ไม่กีดกันสมาชิกโดยเฉพาะกลุ่มคนจนระดับล่างสุด เน้นติดตามการใช้เงินกู้ให้ถูกวัตถุประสงค์ เช่น ใช้พัฒนาตนเอง ปรับปรุงกิจการ และส่งเสริมการศึกษาให้กับบุตรหลาน รัฐบาลควรปรับเปลี่ยนนโยบายการดำเนินงานองค์กรการเงินฐานรากในหลายหน่วยงานมาเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อลดความซ้ำซ้อน เปลี่ยนผ่านองค์กรที่มีความซ้ำซ้อนกันหรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่สะสมไว้ได้ไปสู่องค์กรใหม่ที่รับสมาชิกตรงเป้าหมายมากขึ้น เข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น มีระบบเทคโนโลยีที่ได้มาตรฐาน รวมถึงกระจายกลุ่มเป้าหมายคนจนไม่ให้ภาระการทำงานซ้ำซ้อนกันในกลุ่มคนกลุ่มเดิม
References
พรพจน์ เรืองแสงทองกุล. (2563). จากองค์กรการเงินชุมชนสู่สถาบันการเงินประชาชน. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2565 จาก http://web.krisdika.go.th/pdfPage.jsp ?type=act&actCode=13761
วศิรพล พรหมโคตรวงศ์ และนิรมล อริยอาภากมล. (2561). ผลกระทบของกองทุนหมู่บ้านต่อสวัสดิการของครัวเรือนชนบทในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 5(2), 51-66.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). จำนวนครัวเรือนทั้งหมด ครัวเรือนยากจน และครัวเรือนไม่ยากจนเมื่อวัดด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค จำแนกตามเขตพื้นที่ ปี พ.ศ. 2531 - 2560. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2565 จาก http://statbbi.nso.go.th/ staticreport/page/sector/th/08.aspx
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). สถิติด้านความยากจนและการกระจายรายได้. เรียกใช้เมื่อ 10 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.nesdc.go.th/ main.php?filename=social
Ali, S. I. et al. (2015). Empirical Assessment of the Impact Of Microfinance On Quality Of Life. Pakistan Business Review, 5(1), 808-828.
Guo, L. & Jo, H. (2017). Microfinance Interest Rate Puzzle: Price Rationing or Panic Pricing? Asia-Pacific Journal of Financial Studies, 46(2), 185-220.
Kaboski, J. P. & Townsend, R. M. (2012). The impact of credit on village economies. American Economic Journal: Applied Economics, 4(2), 98-133.
Li, X. et al. (2011). The welfare impact of microcredit on rural households in China. Journal of Socio-Economics, 40(4), 404-411.
Littlefield, E. et al. (2003). Is microfinance an effective strategy to reach the millennium development goals? Focus note No. 24. Washington DC: CGAP-Consultative Group to Assist the Poor.
Mazumder, M. S. U. & Lu, W. (2015). What impact does microfinance have on rural livelihood? A comparison of governmental and non-governmental microfinance programs in Bangladesh. World development, 68(3), 336-354.
Morduch, J. (1998). Does microfinance really help the poor?: New evidence from flagship programs in Bangladesh. In Research Program in Development Studies. Woodrow School of Public and International Affairs.
Park, A. & Ren, C. (2001). Microfinance with Chinese characteristics. World development, 29(1), 39-62.
Remer, L. & Kattilakoski, H. (2021). Microfinance institutions’ operational self-sufficiency in sub-Saharan Africa: empirical evidence. International Journal of Corporate Social Responsibility, 6(1), 1-12.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.