การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เขตสุขภาพที่ 4
คำสำคัญ:
รูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้สูงอายุ, ชุมชนเป็นฐาน, เขตสุขภาพที่ 4บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เขตสุขภาพที่ 4 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีนิเวศวิทยาสังคมเป็นกรอบแนวคิด มี 3 ระยะ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ผู้สูงอายุ 400 คน ตอบแบบสอบถาม และผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้นำชุมชน 20 คน ภาคีเครือข่ายสุขภาพ 20 คน สัมภาษณ์เชิงลึก นำข้อมูลที่ได้มาประชุมแบบมีส่วนร่วม เพื่อสร้างรูปแบบ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบและทดลองใช้รูปแบบ ประกอบด้วย 7 กิจกรรม โดยบูรณาการแนวคิด 5 อ. 2 ส. ของกระทรวงสาธารณสุขมาใช้กับกลุ่มทดลอง 40 คน และกลุ่มควบคุม 40 คน ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบ วัดผลการเปลี่ยนแปลงทั้งสองกลุ่มในสัปดาห์ที่ 10 และ 12 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่างภายในกลุ่มด้วยสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ การทดสอบความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร ผลการวิจัย หลังใช้รูปแบบ 12 สัปดาห์ พบว่า ผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง และพฤติกรรมการใช้ยาอยู่ในระดับสูง แตกต่างจากก่อนใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในระดับมาก ( = 2.850, S.D. = 0.361) ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและเข้ามามีส่วนร่วมเชิงรุก อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะด้านการออกกำลังกายและความเครียด รวมถึงภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดในการดูแลตนเอง และความต่อเนื่องของชุมชนใน การจัดการ
References
กมล ศรีล้อม. (2559). การพัฒนากระบวนการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุเชิงพหุวัฒนธรรม. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 29(2), 1-11.
ประเพ็ญพร ชำนายพงษ์. (2559). การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนกึ่งเมือง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(3), 325-340.
สำนักนิเทศระบบการแพทย์ กรมการแพทย์. (2563). ฐานข้อมูลจากการประเมินข้อมูลจาก Health Data Center กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
Burden of Disease Research Program Thailand (BOD Thailand), Ministry of Public Health. (2017). Burden of diseases and injuries of Thai population in 2014. Nonthaburi: Graphic Systems.
Cho, J. - H. et al. (2020). Protective effect of smoking cessation on subsequent myocardial infarction and ischemic stroke independent of weight gain: A nationwide cohort study. PLoS ONE, 15(7), 1-11.
Daniel, W. W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health sciences. (9th ed). Asia: John Wiley & Sons, Inc.
Khwaenkhonchim P. & Hunnirun P. (2020). Development of health management model for socially joined older people through District Health System of Region Health 7. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 21(2), 63-79.
Lim H. & Choue R. (2013). Impact of nutritional status and dietary quality on stroke: do we need specific recommendations? European Journal of Clinical Nutrition, 67(5), 548-554.
Lu Y, et al. (2014). The evaluation of a culturally appropriate, community-based lifestyle intervention program for elderly Chinese immigrants with chronic diseases: a pilot study. Journal of Public Health, 36(1), 149-155.
The Policy and Strategy Section. (2017). Bureau of Non-Communicable Disease, Ministry of Public Health. In 5-year national NCDs prevention and control plan (2017-2021). Nonthaburi: Emotion Art.
World Stroke Organization: (WSO). (2017). Up again after stroke. Retrieved August 9, 2020, from http://www.worldstrokecampaign.org
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.