โมเดลการวัดพฤติกรรมความปลอดภัยของบุคลากร ในงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ผู้แต่ง

  • คเณศ จุลสุคนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • มานพ ชูนิล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

โมเดลการวัด, องค์ประกอบเชิงยืนยัน, พฤติกรรมความปลอดภัย, บุคลากรในงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, ข้อมูลเชิงประจักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดพฤติกรรมความปลอดภัยของบุคลากรในงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรในงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่สังกัดกองปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย 1, 2 และ 4 สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 200 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.439 ถึง 0.736 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.926 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัย พบว่า โมเดลการวัดพฤติกรรมความปลอดภัยของบุคลากรในงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ Chi-Square Statistics = 154.309 ที่องศาอิสระ = 133 ระดับนัยสำคัญ = 0.100, ค่า Relative Chi-square (Chi-square/df) = 1.160, ค่า Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.028, ค่า Standardized Root Mean Square Residual (SRMR) = 0.064, ค่า Normed Fit Index (NFI) = 0.955, ค่า Non-Normed Fit Index (NNFI) = 0.989 และค่า Comparative Fit Index (CFI) = 0.992 โดยประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.898 ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมด 7 ตัว ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.425 ถึง 0.712 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานเท่ากับ 0.706 ประกอบด้วยตัวแปรสังเกตได้ทั้งหมด 12 ตัว ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.449 ถึง 0.751 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2553). คู่มือการปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. เรียกใช้เมื่อ 5 ธันวาคม 2563 จาก http://law.disaster.go.th/ upload/minisite/file_attach/201/5f90fafe7bfca. pdf.

คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร. (2560). มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง. เรียกใช้เมื่อ 12 สิงหาคม 2563 จาก http://office. bangkok. go.th/csc/images/ Files/files/standart_position/7engineer/3-7-002-n.pdf.

คณะกรรมการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. (2558). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2558. เรียกใช้เมื่อ 23 ตุลาคม 2564 จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER9/ DRAWER016 /GENERAL/DATA0000/00000026.PDF.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นริศ สีหะรัตน์. (2556). การประเมินตนเองในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์.

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Burke, M. J. et al. (2002). General safety performance: A test of a grounded theoretical model. Personnel Psychology, 55(2), 429-457.

Chughtai, A. A. (2015). Creating safer workplaces: The role of ethical leadership. Safety Science - Journals, 73(1), 92-98.

Comrey, A. L. & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis. (2nd ed). Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associated.

Field, A. (2005). Discovering Statistics Using SPSS. (2nd ed). London: Sage Publications, Ltd.

Freaney, C. (2011). Safety Culture and Safety Behaviors Among Firefighters. In Doctoral Dissertations Health and Human Sciences. University of Tennessee.

Hooper, D. et al. (2008). Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit. The Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53-60.

Lu, C. S. & Yang, C. S. (2010). Safety leadership and safety behavior in container terminal operations. Safety Science, 48(2), 123-134.

Murphy, K. R. & Davidshofer, C. O. (1988). Psychology Testing Principles and Applications. (6th ed). New Jersey: Pearson Education.

Neal, A. & Griffin, M. A. (2006). A study of the lagged relationships among safety climate, safety motivation, safety behavior, and accidents at the individual and group levels. Journal of Applied Psychology, 91(4), 946-953.

Szubert, Z. & Sobala W. . (2002). Work-related injuries among firefighters: sites and circumstances of their occurrence. International Journal of Occupational Medicine and Environmental Health, 15(1), 49-55.

Turner, N. et al. (2012). Job Demands–Control–Support model and employee safety performance. Accident Analysis & Prevention, 45(1), 811-817.

Zhang, J. & Wu, C. (2014). The influence of dispositional mindfulness on safety behaviors: A dual process perspective. Accident Analysis and Prevention, 70(1), 24-32.

Zhang, J. et al. (2013). Task complexity matters: The influence of trait mindfulness on task and safety performance of nuclear power plant operators. Personality and Individual

Differences, 55(4), 433-439.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07/31/2022

How to Cite

จุลสุคนธ์ ค., วงศ์ปิ่นเพ็ชร์ ป., & ชูนิล ม. (2022). โมเดลการวัดพฤติกรรมความปลอดภัยของบุคลากร ในงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(7), 473–485. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/260020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย