การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านสบเปา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
คำสำคัญ:
ทักษะการอ่าน, ทักษะการเขียน, การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านสบเปา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 543 คน ซึ่งได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบประเมินและแบบสรุปข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้ 1) ด้านบริบท มีผลการประเมินความสอดคล้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59,
= 0.24) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 4.45,
= 0.20) 3) ด้านกระบวนการ มีผลการประเมินการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.76,
= 0.13) ทุกกิจกรรมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ด้านผลผลิต พบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการอ่านอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 50 - 69) ระดับดีมาก (ร้อยละ 89.40-92.50) และมีทักษะการเขียนอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 56.68 - 70.42) ระดับดีมาก (ร้อยละ 77.46-94.22) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ และ 2) ครูมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.66,
= 0.23) ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (
= 4.58,
= 0.29) และโดยรวมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมในระดับมาก
References
กาญจนา ชูสกุล. (2558). การประเมินโครงการรักการอ่านโรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบซิปป์. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติ ด้านการศึกษา, 3(6), 35-46.
กิตติพงษ์ โพธิ์มาตย์. (2563). การประเมินโครงการรักการอ่านในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 วัดเทพมงคล เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 20(3), 1-21.
เข้ม ชองกิตติ์วรกุล. (2560). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2557). ปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้: แนวทางการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฏาคม 2565 จาก https://www.gotoknow.org/posts /579593
ทิวัตถ์ มณีโชติ. (2561). รูปแบบการประเมินโครงการ หน่วยที่ 5 ใน การประเมินโครงการ หน่วยที่ 1-7. นนทุบรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปิยธิดา วงศ์ประสิทธิ์. (2558). การประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนน่าบ่อคำวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
พิทักษ์ สุพรรโณภาพ และวรรณวีร์ บุญคุ้ม. (2563). สภาพและผลการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมบูรณาการ, 7(2), 143-159.
พิมลพร พงษ์ประเสริฐ. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบของฮันเตอร์ร่วมกับแบบฝึกทักษ. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วราภรณ์ ภิรมย์นาค. (2559). การประเมินผลโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). นโยบายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย: ภาพรวม ปัญหาและแนวทางการพัฒนา. ใน การประชุมวิชาการ Thailand Conference on Reading 2011 วันที่ 24-25 สิงหาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานอุทยาการเรียนรู้ TK Park.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่แปด พ.ศ. 2540-2544. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). หนังสือคู่มือการดำเนินงานอ่านออก
เขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
อนุชา ครสิงห์. (2560). การประเมินโครงการรักการอ่านโรงเรียนเปรมประชา สังกัดงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินการศึกษา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัจฉรา ราชเนตร. (2560). ถอดบทเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการโครงการหมอภาษา โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์. ใน สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Fitzpatrick, J. L. et al. (2004). Program Evaluation: Alternative Approaches and Practical Guidelines. (3rd ed.). London: Pearson.
Jhang, F. H. (2017). The Effect of Schools’ Reading Promotion Activities on Fourth Graders’ Reading Engagement Outside of School: A Study of Happy Reading 101 Program. Bulletin of Educational Research, 63(2), 101-133.
Medina, G. et.al. (2020). Reading promotion, behavior, and comprehension and its relationship to the educational achievement of Mexican high school students. Cogent Education; Abingdon, 7(1), 1-15.
Stufflebeam, D.L. & Shinkfield, A.J. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.