ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ จำปีเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • วงศ์สิริ แจ่มฟ้า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  • นิรนาท วิทยโชคกิติคุณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยสุขภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 265 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมืออยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยที่ผ่านการเตรียมมาอย่างดีแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับคุณภาพชีวิตด้วยสถิติค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05 ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับกลางร้อยละ 54.7 คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมในระดับดีมากที่สุดร้อยละ 67.9 มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอยู่ในระดับมากร้อยละ 67.2 มีการรับรู้ภาวะสุขภาพและเจตคติต่อการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.3 และ 53.6 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับคุณภาพชีวิตพบว่า ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและปัจจัยด้านการรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .441 และ .578 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยด้านเจตคติต่อการส่งเสริมสุขภาพ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนั้น ในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุบุคลากรสาธารณสุขควรให้ความสำคัญกับการจัดบริการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการรับรู้ภาวะสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อคงไว้ซึ่งการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุได้

References

กฤษดา พรหมสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุตำบลหนองไม้แก่น. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสุขภาพ. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

กิติวงค์ สาสวด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย, 11(2), 21-38.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา และคณะ. (2563). สถานาารณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2), 581-595.

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ และศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(1), 63-64.

ปัทมา ผ่องศิริและคณะ. (2561). คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเขตเมือง อุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 137-151.

วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ. (2560). สุขภาพผู้สูงวัยไทยและปัญหาที่สำคัญ. กรุงเทพมหานคร: โครงการสารานุกรมไทย.

วาสนา สิทธิกัน. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาล ตำบลบ้านโฮ่งอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 10 ธันวาคม 2564 จาก https://tinyurl.com/2ny3qoqn

วิมลรัตน์ บุญเสถียร และ อรทัย เหรียญทิพยะสกุล. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: สถานการณ์และผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท, 2(1), 1-19.

ศรีเมือง พลังฤทธิ์ และคณะ. (2563). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครรังสิต ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. วารสารประชากรศาสตร์, 36(2), 25-39.

ศิริรัตน์ จำปีเรือง และคณะ. (2562). การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(3), 189-202.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). ปัญหาสุขภาพและโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 26 ธันวาคม 2561 จาก http://www.thaihealth.or.th-ปัญหาสุขภาพและโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ.html

สำนักงานสถิติจังหวัดนครสวรรค์. (2559). สถิติผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์. เรียกใช้เมื่อ 23 ธันวาคม 2561 จาก http://nksawan.nso.go.th/

สุนิสา ค้าขึ้น และคณะ . (2563). ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(2),104-120.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.

เอกพันธ์ คำภีระ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 7(2), 44-57.

Jiyeon H. & Juah K. (2019). Factors influencing perceived health status among elderly workers: occupational stress, frailty, sleep quality, and motives for food choices. Clinical Interventions. 14(1), 1493-1501.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/31/2022

How to Cite

จำปีเรือง ศ., แจ่มฟ้า ว., & วิทยโชคกิติคุณ น. . (2022). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ชุมชนเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8), 489–503. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/260421

ฉบับ

บท

บทความวิจัย