ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

ผู้แต่ง

  • ปัญจา ชูช่วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สุรชัย มีชาญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิไลลักษณ์ ลังกา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น, สมรรถนะการวิจัย, นักศึกษาหลักสูตรวิชาชีพครู

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 2) จัดลำดับความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาวิจัยภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 177 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยข้อคำถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 34 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNI modified ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครูด้านสถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยมีค่าดัชนี PNI modified สูงที่สุด เท่ากับ 0.39 รองลงมาเป็นด้านการเขียนสรุปและอภิปรายผลการวิจัย ด้านความรู้เบื้องต้นของการวิจัย ด้านการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ด้านการดำเนินการวิจัย และด้านการกำหนดปัญหาและการเขียนบทนำ โดยมีค่าดัชนี PNI modified เท่ากับ 0.36 0.33 0.21 0.20 และ .20 ตามลำดับ 2) การจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู พบว่า นักศึกษามีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในด้านการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเป็นอันดับแรก รองลงมาเป็นการเขียนสรุปและอภิปรายผลการวิจัย การกำหนดปัญหาและการเขียนบทนำ ความรู้เบื้องต้นของการวิจัย การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการดำเนินการวิจัย ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2553 (ฉบับที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัทสยามสปอรต์ ซินดิเคท จำกัด.

กฤติยา อริยา และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(2) 1-11.

เกียรติภูมิ ชูเกียรติศิริ. (2554). การพัฒนาเครื่องมือวัดเจตคติและทักษะพิสัย : หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เครื่องมือวัดเจตคติและทักษะพิสัย. นนทบุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. (2562). รายงานสรุปผลการจัดโครงการนักศึกษาพบผู้บริหารประจำปีการศึกษา 2562. ใน รายงานการประชุม คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

คุรุสภา. (2556). สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครูผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาและศึกษานิเทศก์ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพพ.ศ. 2556. เรียกใช้เมื่อ 19 เมษายน 2563 จาก http://www. ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/109/T_0015.PDF

จิติมา วรรณศรี. (2552). คุณภาพการศึกษากับสมรรถนะครูที่พึงประสงค์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น , 32 (1) 1-5.

ประยูร เชาวนีนาท. (2560). การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน ด้วยวิธีการชี้แนะสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. ใน รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปรีดา เบ็ญคาร. (2548). การส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนในกระบวนการพัฒนาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนของครู. ใน ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา : การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริชัย กาญจนวสี. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง. (2557). การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยของครูตามแนวคิดของไวก๊อตสกี้โดยใช้หลักการเป็นหุ้นส่วน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4) 22-33.

Alber, S. R. & Nelson, J. S. (2010). Putting Research in the Collaborative Hands of Teachers and Researchers: An Alternative to Traditional Staff Development. CLASSIC RSEQ ARTICLE Reprinted from Rural Special Education Quarterly, 21 (1) Spring, 2002, 29(4), 24-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/31/2022

How to Cite

ชูช่วย ป., มีชาญ ส., & ลังกา ว. (2022). ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8), 389–400. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/260456

ฉบับ

บท

บทความวิจัย