การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน ผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสานสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • สุธิมา เทียนงาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิไลลักษณ์ ลังกา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ฐาปนีย์ ธรรมเมธา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

หลักสูตร, สมรรถนะการวิจัยชุมชน, ผู้นำชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน 2) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน 3) ประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน การพัฒนาหลักสูตรใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน บูรณาการร่วมกับการเรียนรู้แบบผสมผสานสื่อสังคมออนไลน์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้การสนทนากลุ่ม และการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 4 ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ประสบการณ์ด้านการวิจัยชุมชนหรือการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัย ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการวิจัยชุมชน และผู้บริหารวิทยาลัยชุมชน โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน ประกอบด้วย 1) ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยชุมชน 2) ทักษะการวิจัยชุมชน 3) เจตคติต่อการทำวิจัยชุมชน และ 4) คุณลักษณะของนักวิจัยชุมชน โดยหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ การสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้กับชุมชน การสกัดโจทย์วิจัยและออกแบบงานวิจัย การปฏิบัติการวิจัยชุมชน และการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ การถอดบทเรียน สรุปบทเรียน และการเขียนรายงานวิจัย โดยหลักสูตรมีความสอดคล้องกันระหว่างของหน่วยการเรียนรู้ หัวข้อการฝึกอบรม และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (IOC = 0.75 - 1.00) และมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.00 - 5.00) ผลการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน พบว่าภาพรวมของหลักสูตรมีประสิทธิภาพในด้าน ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม (ความถูกต้องครอบคลุม และความรับผิดชอบ (gif.latex?\bar{x} = 4.56 - 4.78) ในระดับมากที่สุด และด้านความเป็นไปได้ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.11)

References

กรมพัฒนาชุมชน. (2561). แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ด้วยระบบมาตรฐานงานชุมชน. กรุงเทพมหานคร: บีทีเอส เพรส.

เกษม วัฒนชัย. (2548). คมทัศน์ทางวิวัฒน์วิทยาลัยชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน.

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

ชูพักตร์ สุทธิสา. (2561). งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน. จดหมายข่าว งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น, 9(1), 4-7.

ทวีป ศิริรัศมี. (2549). การศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตสินค้าของที่ระลึกในจังหวัดนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 1(1), 135-142.

บุญสิทธิ์ ไชยชนะ. (2552). ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองด้านบทบาทครูนักวิจัยและสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนที่มีต่อนักศึกษาครู ในชั้นการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบเต็มรูป. ใน ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประเวศ วะสี. (2561). การประชุม Kick off สานใจ สานพลัง ภาคีสนับสนุนปฏิรูปชุมชนเข้มแข็ง ครั้งที่ 1/2561. เรียกใช้เมื่อ 15 มกราคม 2562 จาก https://www. healthstation.in.th/mobile /viewvideo.php?video_id=4320

ปิยะวัติ บุญ-หลง, และ คณะ. (2543). การวิจัยเพื่อท้องถิ่น การวิจัยเพื่อท้องถิ่น: รากฐานแห่งพลังปัญญา. เชียงใหม่: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

ภักดี รัตนมุขย์. (2561). Thailiand 4.0 ตอบโจทย์ประเทศไทย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

ภาวิดา เจริญจินดารัตน์, และ ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์. (2561). งานวิจัยท้อง ถิ่นเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(2), 152-161.

วิทยา สุจริตธนารักษ์, และ คณะ. (2560). การใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคมกรณีศึกษา ชุมชนพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 9(2), 205-211.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. (2562). ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. เรียกใช้เมื่อ 7 มกราคม 2563 จาก vijai.trf.th/node_n.asp

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานภาค. (2548). รายงานประจำปี 2548. เรียกใช้เมื่อ 10 มกราคม 2563 จาก https://www.trf.or.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564.

กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2557). การพัฒนาระบบวิจัยเพื่อความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 51(1), 2-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/31/2022

How to Cite

เทียนงาม ส. ., ลังกา ว. ., สุวทันพรกูล อ., & ธรรมเมธา ฐ. . (2022). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยชุมชน สำหรับผู้นำชุมชน ผ่านการเรียนรู้แบบผสมผสานสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8), 198–213. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/260458

ฉบับ

บท

บทความวิจัย