การสังเคราะห์งานวิจัยความเชื่อตามแนวคิดตะวันออกและตะวันตก ที่มีต่อเรื่องฟันของคนไทย

ผู้แต่ง

  • พิชคุณ อรรถเวชาสกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
  • มนตรี วิวาห์สุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

สังเคราะห์งานวิจัย, ความเชื่อของคนไทย, เรื่องฟัน, แนวคิดตะวันออกและตะวันตก

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์งานวิจัยความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับเรื่องฟัน ตามแนวคิดตะวันออกและตะวันตก และ 2) ประเมินและเสนอแผนภาพความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับเรื่องฟัน ตามแนวคิดตะวันออกและตะวันตก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การเก็บข้อมูลขั้นตอนการวิจัย ออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) รวบรวมข้อมูล โดยใช้การวิจัยเอกสาร 2) วิเคราะห์ข้อมูล 3) สังเคราะห์ข้อมูล 4) ประเมินและนำเสนอ ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาความเชื่อของไทยเกี่ยวกับฟันตามแนวคิดตะวันออก และตะวันตก พบการค้นหาบทความ 27 เรื่อง จาก 591 บทความ สรุปได้ว่า ความเชื่อของคนไทยเกี่ยวกับฟันตามแนวคิดตะวันออกส่วนใหญ่มาจากแนวคิดและหลักคำสอนของพุทธศาสนาและความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีของคนไทย แนวความคิดเรื่องความเชื่อแบบตะวันตก มาจากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และความเชื่อที่มาจากการเรียนรู้และประสบการณ์ของแต่ละคน การสังเคราะห์บทความครั้งนี้ถูกนำเสนอเป็นแผนภาพ สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดความเข้าใจด้านการศึกษาสังคมศาสตร์ ในการอธิบายเรื่องความเชื่อของคนไทยในปัจจุบัน บนพื้นฐานศาสนาและพิธีกรรมที่ถูกถ่ายทอดผ่านความเชื่อจากบรรพบุรุษ สำหรับสังคมตะวันตกมักมองฟันไปในทางวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นจากการได้รับความรู้ ประสบการณ์ และนำไปสู่การปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตนเอง รวบถึงถ่ายทอดให้คนในครอบครัว ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีตามตะวันออกและตะวันตกในการอธิบายความเชื่อของไทยเกี่ยวกับฟันเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาทาง ไทยศึกษา และสังคมศาสตร์ต่อไป

References

กฤษฎา นันทเพ็ชร. (2560). ห้องสุขา: มุมมองระบบสุขภาพเชิงพุทธ. Journal ofEducational Review Faculty of Education in MCU, 4(2), 83-92.

ณรงค์ฤทธิ์ สุมาลี. (2558). ข้อสังเกตเชิงแนวคิดว่าด้วยพลวัตความเป็นท้องถิ่นอีสานในบริบทของสังคมสมัยใหม่ : มองผ่านปฏิบัติการทางสังคมและโครงสร้างสังคมของความเชื่อผี ปู่ตาและผีคุ้มครอง. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 2(2), 26-51.

ทำนอง วงศ์พุทธ และคณะ. (2559). ความเชื่อร่วมเรื่องเครื่องรางของขลังในเมืองชายแดนไทย - ลาว - กัมพูชา. วารสาร ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, 12(1), 307- 331.

พระครูรัตนญาณ โสภิต และคณะ. (2562). ความเชื่อในประเพณีแซนโฎนตาของจังหวัดบุรีรัมย์. Dhammathas Academic Journal, 19(3), 285-294.

พระชลญาณมุนี นาคสิทธิเลิศ. (2564). ปรากฏการณ์ทางความเชื่อของคนไทย ในยุค ปัจจุบัน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นคร ลำปาง, 10(3), 250-265.

พระสำรอง สญฺญโต. (2563). การศึกษาความสำคัญของมูลกัมมัฏฐานในกายคตาสติสูตร. วารสารสังคมศาสตร์ ปัญญาพัฒน์, 2(1), 25-32.

พระแสงจันทร์ ฐิตสาโร และคณะ. (2562). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา. Journal of Graduate Saket Review, 4(1), 12-20.

มนตรี วิวาห์สุข. (2554). แผนที่ครอบครัวในพระไตรปิฎก. พุทธจักรโลกร่มเย็นดับเข็ญได้ด้วยศาสนา, 65(1), 26-28.

รัศมี ชูทรงเดช. (2557). งานช่างฝีมือในยุคเหล็กของวัฒนธรรมโลงไม้ บนพื้นที่สูง ในอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ดำรง วิชาการ, 13 (1), 73-106.

วิราวรรณ สมพงษ์เจริญ. (2550). คติ ความเชื่อของคนไทยสมัย สุโขทัย พ. ศ. 1726 - พ. ศ.2006. ใน ดุษฎีนิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

สุภารัตน์ ชาญแท้ และคณะ. (2560). ศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช. Academic MCU Buriram Journal, 2(2), 11-23.

Ajzen, I. . (1991). The theory of planned behavior. Organizational behavior and . human decision processes, 50(2), 179-211.

Buglar, M. E. et al. (2010). The role of self-efficacy in dental patients' brushingand flossing: testing an extended Health Belief Model. Patient education and counseling, 78(2), 269-272.

Hrubes, D. et al. (2001). Predicting hunting intentions and behavior: Anapplication of the theory of planned behavior. Leisure Sciences, 23(3), 165-178.

Jervis, R. (2006). Understanding beliefs. Political Psychology, 27(5), 641-663.

Österholm, M. (2010). Beliefs: A theoretically unnecessary construct? In Sixth Congress of the European Society for Research in Mathematics Education. In January 28th-February 1st 2009, Lyon, France (pp. 154-163). RecherchePédagogique: Institut National de .

Rahimi, F. et al. . (2011). Oral health care based on educational health beliefmodel in child. Journal of Health and Hygiene, 1(4), 74-81.

Ranathunga, G. M. et al. (2018). Headdress: Faith and practice in everyday life in Buddhism (The case of the temple of the tooth Buddhist religious activities and the cultural headdress of Sri Lanka). Journal of Advanced Research in Social Sciences and Humanities, 3(5), 172-178.

Siripipatthanakul, S. & Bhandar, M. (2021). A Qualitative Research FactorsAffecting Patient Satisfaction and Loyalty: A Case Study of Smile Family Dental Clinic. International of Trend in Scientific Research and Development , 5 (5), 877-896.

Siripipatthanakul, S. & Nyen Vui, C. (2021). Dental practice-related factors and patient loyalty in dental clinics, Laem Chabang, Thailand: The mediating role of patient satisfaction. International Journal of Behavioral Analytics, 1(2), 1-17.

Siripipatthanakul, S. (2011). Development of a Model for Administration of Development of a Model for Administration of. International Journal of Learning, 17(12), 137-150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/30/2020

How to Cite

อรรถเวชาสกุล . พ. ., & วิวาห์สุข ม. . (2020). การสังเคราะห์งานวิจัยความเชื่อตามแนวคิดตะวันออกและตะวันตก ที่มีต่อเรื่องฟันของคนไทย . วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(12), 766–788. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/260469

ฉบับ

บท

บทความวิจัย