การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถการวิจัยในชั้นเรียนของครูการศึกษาพิเศษ โดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • จินดา อุ่นทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชำนาญ ปาณาวงษ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การวิจัยในชั้นเรียน, การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน, ทีมสหวิชาชีพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนและแนวทางพัฒนาหลักสูตร 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร 3) ศึกษาผลการใช้หลักสูตร 4) ประเมินและปรับปรุงหลักสูตร วิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ           ครูศูนย์การศึกษาพิเศษ 30 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามสภาพและปัญหาการวิจัยในชั้นเรียน แบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาหลักสูตร แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตร แบบวัดความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียน แบบวัดความสามารถการวิจัยในชั้นเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหลักสูตร สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนอยู่ในระดับมาก และได้แนวทางพัฒนาความรู้และความสามารถการวิจัยในชั้นเรียน 2) ได้หลักสูตรเสริมสร้างความสามารถการวิจัยในชั้นเรียนของครูการศึกษาพิเศษ โดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพ กิจกรรม 4 ระยะ คือ เตรียมความพร้อมพัฒนาความรู้ พัฒนาบทเรียนร่วมกัน นำบทเรียนไปใช้ ขยายผลบทเรียน ใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 4 ขั้น คือ กำหนดเป้าหมายและวางแผนบทเรียน สอนและสังเกต สะท้อนผล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักสูตรมีความเหมาะสมมากที่สุด 3) ครูการศึกษาพิเศษมีความรู้ความเข้าใจการวิจัยในชั้นเรียนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีความสามารถในการวิจัยในชั้นเรียนหลังการพัฒนาอยู่ในระดับมาก 4) หลักสูตรมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้มากที่สุดและมีการปรับปรุงโครงสร้างเวลา

References

เกรียง ฐิติจำเริญพร. (2560). การพัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี่ยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5) กรุงเทพมหานคร: วีพรินท์ (1991).

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2564). การพัฒนาหลักสูตร ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 8) นนทบุรี: เอ็มดี ออล กราฟิก.

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2557). การศึกษาผ่านบทเรียน (lesson Study): ทางเลือกใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน. ใน เอกสารประกอบคำบรรยายการอบรมเชิงปฏิบัติการ พ.ศ. 2557. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนยา อินจำปา. (2561). การศึกษาพิเศษ. ใน เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา 1083102 . มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

เบญจมาศ พระธานี. (2554). ออทิสซึม : การสอนพูดและการบำบัดแบบสหสาขาวิทยาการ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). หลักคิดการจัดการหลักสูตรและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20 (4), 157-165.

วศินี รุ่งเรือง. (2562). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพที่ ส่งเสริมศิลปะการสอนของครู. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศรีนวล ชวศิริ. (2560). รู้ทาง...เวชศาสตร์ฟื้นฟูเด็ก. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2555). มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: โบนัส พรีเพรส.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2560). การสังเคราะห์งานวิจัยในชั้นเรียนสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สิทธิพล อาจอินทร์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 4) ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภาภรณ์ โตโสภณ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ตามแนวคิดการฝึกทางปัญญาจากต้นแบบ สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อภิญญา เวชยชัย. (2548). ทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Lewis, c. & Hurd, j., (2011). Lesson study step by step: how teacher learning communitiesimprove instruction. United States of America: Cape Cod Compositors, Inc.

Tremblay, O. et al. (2007). A generic battery model for the dynamic simulation of hybrid electric vehicles. IEEE Vehicle Power and Propulsion Conference, 10(2007), 284 - 289.

Tyler Raph W. (1971). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08/31/2022

How to Cite

อุ่นทอง จ. ., สุทธิรัตน์ ช. ., & ปาณาวงษ์ ช. . (2022). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถการวิจัยในชั้นเรียนของครูการศึกษาพิเศษ โดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันกับทีมสหวิชาชีพ. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(8), 245–258. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/260566

ฉบับ

บท

บทความวิจัย