การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. 2559 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
คำสำคัญ:
CIPP Model, การประเมินหลักสูตร, ผู้ช่วยพยาบาลบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. 2559 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สำเร็จหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลรุ่น 1 รุ่น 2 อาจารย์ผู้สอน และผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา รวม 176 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อคำถาม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบทของหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน และด้านผลผลิต แบบสอบถามที่ใช้ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 หาความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D = 0.94) ด้านบริบทของหลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (
= 3.81, S.D = 0.96) ด้านปัจจัยนำเข้ามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.66, S.D = 0.57) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.59, S.D = 0.59) ด้านผลผลิตมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.73, S.D = 0.53) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลสามารถพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้ แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินงานหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลควรพัฒนานักศึกษา อาจารย์ผู้สอนและปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งเนื้อหาสาระ บางรายวิชาอาจต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยต่อไป
References
กฤษดา แสวงดี และคณะ. (2562). แผนปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวง . นนทบุรี: สำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.
กัญญาภัค ศรีสุขโกศลิน. (2557). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะของผู้ช่วยพยาบาล โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาตรตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. (2528). พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2528 จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. (2540). พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540. เรียกใช้เมื่อ 13 มิถุนายน 2540 จาก http://web.krisdika.go.th /data/law/law2/%C730/%C730-20-9999-update.htm
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. นครปฐม: บริษัทพริ้นเทอรี่ จำกัด.
รติมา คชนันทน์. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/ 2561/jul2561-1.pdf
วราภรณ์ สร้อยเงิน และคณะ. (2556). การติดตามคุณภาพการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลโดยการประเมินตนเองและผู้บังคับบัญชา. วารสารพยาบาลศิริราช, 6(1), 1-13.
วัชรากรณ์ ชีวโศภิษฐ. (2562). สังคมผู้สูงอายุ: ปัจจัยการตลาดที่เปลี่ยนไป. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 38-54.
วัลลภา อันดารา. (2561). การศึกษาภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชนบ้านเอื้ออาทรบางเขน (คลองถนน). วารสารแพทย์นาวี, 45(1), 121-138.
วิจิตร ศรีสุพรรณ และกฤษดา แสวงดี. (2555). ข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 27(1), 5-12.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. (2559). หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. 2559. ราชบุรี. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน (มคอ.7) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2561) ประจำปีการศึกษา 2563. ราชบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช.
วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2556). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. นนทบุรี: บริษัทเอสเอส พลัส มีเดีย จำกัด.
สภาการพยาบาล. (2561). ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง นโยบายสภาการพยาบาลเกี่ยวกับกำลังคนในทีมการพยาบาล. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2563 จาก https://www. tnmc.or.th/images/userfiles/files/003(1).pdf
สมทรง สุภาพ. (2565). รูปแบบเพื่อประเมินหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพัฒนาจากรูปแบบการประเมิน CIPP Model. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 33(1), 1-14.
สมฤทัย เพชรประยูร และคณะ. (2557). การประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2553 โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลศิริราช, 7(2), 1-14.
สุชัญญ์ญา มูลจันที และปาริชาติ จันทนพ. (2563). ความพึงพอใจของผู้สําเร็จการศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2556 วิทยาลัยพยาบาลตํารวจ. วารสารพยาบาลตํารวจ, 12(1), 138-147.
สุปราณี สิทธิกานต์ และดารุณี จงอุดมการณ์. (2563). อุปสรรคในการเข้าถึงบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมือง: การศึกษาเชิงคุณภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 43(1), 19-29.
อนัญญา คูอาริยะกุล และคณะ. (2560). การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ, 9(1), 44-58.
อรุณรัตน์ คันธา. (2557). ผลกระทบและทางออกของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาลในประเทศไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์, 32(1), 81-90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.