ความคาดหวังและสภาพที่เป็นจริงของการใช้บริการขนส่งพัสดุ ของผู้บริโภคภายในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, สภาพที่เป็นจริง, การใช้บริการขนส่งพัสดุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังและสภาพที่เป็นจริงของ การใช้บริการขนส่งพัสดุของผู้บริโภค 2) เปรียบเทียบสภาพความคาดหวังและสภาพที่เป็นจริงของการใช้บริการขนส่งพัสดุของผู้บริโภค และ 3) เปรียบเทียบสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงที่มีต่อการใช้บริการขนส่งพัสดุตามช่วงอายุของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นผู้มีประสบการณ์ในการใช้บริการขนส่งพัสดุจำนวน 400 คน และใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และการเปรียบเทียบรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคาดหวังของการใช้บริการขนส่งพัสดุ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก สำหรับสภาพที่เป็นจริงในการใช้บริการขนส่งพัสดุ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสภาพ ที่คาดหวัง และสภาพที่เป็นจริง พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคคล ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบสภาพที่คาดหวังและสภาพที่เป็นจริงที่มีต่อการใช้บริการขนส่งพัสดุตามช่วงอายุ พบว่า ผู้ที่มีอายุแตกต่างกันมีสภาพที่คาดหวังในการใช้บริการขนส่งพัสดุแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และสำหรับสภาพที่เป็นจริง แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
References
กมลมาลย์ แจ้งล้อม และปุญญภพ ตันติปฎก. (2563). TRANSPORT & LOGISTICS 2020: อีไอซีวิเคราะห์ธุรกิจขนส่งพัสดุในปี 2020 มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นจากแรงกดดันด้านราคา. เรียกใช้เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/6563
จิรายุฒ เสมา. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการระบบขนส่งพัสดุด่วนภายในประเทศของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการ. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
ทีโอที. (2563). 5 กลยุทธ์ในการทำธุรกิจขนส่งให้โดดเด่น. เรียกใช้เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.tot.co.th/sme-tips/SME-tips/2020/08/10/5-strategies-transportation-business
นิรวิทธ์ สิระวิทยาวานิช. (2559). ความพึงพอใจการใช้บริการบริษัทขนส่งภายในประเทศเคอรรี่เอ็กซ์เพรสในเขตหนองแขม. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ. มหาวิทยาลัยสยาม.
ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2563). “EIC” ชี้ธุรกิจขนส่งพัสดุโต35%แตะ6.6หมื่นล้าน รับกระแสซื้อขายสินค้าe-commerceโตกระฉูด. เรียกใช้เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.prachachat.net / finance/news-412411
ปรินทร ไชยคำจันทร์. (2564). คุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึงจังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรนิภา หาญมะโน. (2558). พฤติกรรมการซื้อสินค้าของกลุ่ม Generation B Generation XและGeneration Y ที่ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 4(1), 54-75.
เฟื่องฤทธิ์ ตันติพลาผล. (2550). ความคาดหวังและความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการขนส่งสินค้า : บริษัท ภูสุวรรณ อินเตอร์เทรด จำกัด. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
มานิดา ภู่ไพฑูรย์. (2563). ตลาดขนส่งพัสดุเดือด คาดปี 63 เติบโต 35% รับเทรนด์ช้อปปิงออนไลน์. เรียกใช้เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.bltbangkok.com/ news/13086/
วรชนก เต็งวงษ์วัฒนะ. (2558). คุณภาพการให้บริการ การตระหนักถึงราคา ภาพลักษณ์ตราสินค้า และการบอกต่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุของ บริษัทเอกชนภายในประเทศไทยของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา. (2563). รายงานสถิติจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2563. เรียกใช้เมื่อ 2 มีนาคม 2564 จาก http://songkhla.nso.go.th/index.php?option=com_ content&view=article&id=219&Itemid=680
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.