ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในชุมชนบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ปัจจัยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในชุมชนบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุอาศัยในชุมชมบางโพธิ์เหนือ ที่ยินดีตอบแบบสอบถามจำนวน 220 คน เครื่องมือใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามความสามารถในกิจวัตร ขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุ แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย การตรวจหาความเที่ยงตรงโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถาม และวัตถุประสงค์ อยู่ในช่วง 0.6 - 1.0 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ความสามารถ ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันค่าความเชื่อมั่นโดยรวม .942 แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวม .913 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและความสามารถในกิจวัตร ขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุ ใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์คุณภาพชีวิต โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมและคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี ( = 3.75, SD = 0.71) (
= 3.68, SD = 0.63) โดยคะแนนคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย คะแนนคุณภาพชีวิตด้านจิตใจ และคะแนนคุณภาพชีวิตด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลาง (
= 3.42, SD = 0.54) (
= 3.51, SD = 0.57) (
= 3.58, SD = 0.77) ตามลำดับและยังพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการทำกิจวัตประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นยังพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่การศึกษา รายได้ และปัญหาสุขภาพ/โรคประจำตัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้สูงอายุอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนและพัฒนาการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ ในชุมชนบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). กลุ่มเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 25 ตุลาคม 2565 จาก https://www.dop.go.th › know.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินคัดกรองผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การส่งเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ พ.ศ. 2560 - 2565 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2563). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเทพเพ็ญวานิสย์.
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติพยากรณ์.
โกศล สอดส่อง. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาจังหวัดนครพระนครศรีอยุธยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร, 6(1), 162-175.
จิรัชยา เคล้าดี และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์, 15(1), 27-32.
เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 94-105.
ชลธิชา จันทร์แจ้ง และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในเขตตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. ใน งานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 13 “จากท้องถิ่นสู่สากล ในบริบทประเทศไทย 4.0” วันที่ 7 - 8 กันยายน 2560 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิธิภัทร ชิตานนท์ และคณะ. (2563). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปัทมา ผ่องศิริ และคณะ. (2561). คุณภาพชีวิตภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเขตเมือง อุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 137-150.
ริรร์ พิมมานุรักษ์ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุบ้านหนองโพรง ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา” วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2562 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา. วิทยาลัยนครราชสีมา.
โรงพยาบาลตำบลบางโพธ์เหนือ. (2564). ทะเบียนผู้สูงอายุประจำปีงบประมาณ 2564. ปทุมธานี: โรงพยาบาลตำบลบางโพธ์เหนือ.
วาสนา หลวงพิทักษ์ และคณะ. (2562). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลมหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 67-81.
สมชาย เพชรรัตน์ และคณะ. (2562). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. ใน สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). คู่มือเรียนรู้เข้าใจวัยสูงอายุ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยืนยงการพิมพ์ จำกัด.
สุทธิชัย จิตพันธ์กุล และคณะ. (2541). การวิเคราะห์ผู้สูงอายุหลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเทพ คำเมฆ และกฤติมา อินทะกูล. (2564). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเชิงบรูณาการในพื้นที่กึ่งเมืองกึ่งชนบทกรณีศึกษา เทศบาลตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(1), 74-88.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กูล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบตัวชีวัดคุณภาพชีวิตของ WHO 100 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลส่วนปรุง.
อนรรฆ อิสเฮาะ. (2562). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. ใน สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2563). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. ใน ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติมหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 4 ประจำปี 2562 วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ.2563. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อุไรวรรณ ทัศนีย์สุวรรณ. (2564). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในคลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(1), 293-311.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determination sample size for research activities. Education and Psychology Measurement, 30(3), 607-610.
Mahoney, F. I. & Barthel, D. W. (1965). Functional evaluation: The Barthel index. Maryland State Medical Journal, 14(1), 61-65.
WHO. (2009). 50 facts: Global health situation and trends 1955-2025. Retrieved October 22, 2022, from http://www.who.int/whr/1998/media_centre /50facts/en/
WHO. (2018). quality-of-life. เรียกใช้เมื่อ 20 October 2022 จาก http//www.who.int/ healthinfo/survey/whoqolqualityofife/en/.
WHOQOL Group. (1995). The debelopment of the World Health Organization quality of Life Assesment Instrument. Geneva: WHO.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.