ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของระบบงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, ระบบงานส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของระบบงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของระบบงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data ) และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน ร่วมกับการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของระบบงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีโครงสร้างและกลไกการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันของหลายหน่วยงานตามกรอบการบูรณาการความร่วมมือกลุ่มผู้สูงอายุ โดยสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งกลยุทธ์การดำเนินงานแบ่งออกเป็นกลยุทธ์สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่มีสุขภาพที่ดี และกลยุทธ์สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของระบบงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยด้านระบบการให้บริการ คือ การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ และคุณภาพของหน่วยงานส่งเสริมสุขภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของระบบงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเชิงบวก เท่ากับ .494 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยด้านกำลังคนด้านสุขภาพ คือ มีจำนวน อสม. มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลของระบบงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ มีค่าอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวก เท่ากับ .163 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ คือ สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย 1) ควรมีการส่งเสริมการดำเนินงานด้านพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุให้ผ่านค่าเป้าหมายตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข 2) ควรมีการจัดสรรจำนวน อสม. ให้เพียงพอต่อการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลทั่วถึง
References
กรมอนามัย. (2565). สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2565 จาก https://bluebook.anamai.moph.go.th/
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ฐานข้อมูลระบบวัดผลการดำเนินงานรายตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข (Health KPI). เรียกใช้เมื่อ 11 2565 2565 จาก http://healthkpi. moph.go.th/kpi2/kpi/index2/?kpi_year=2564
ประชาชาติธุรกิจ. (2564). น่าเป็นห่วง “สังคมสูงวัย” แนวโน้มประชากรของไทย. เรียกใช้เมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.prachachat.net/columns/news-786842
ยศ วัชระคุปต์. (2561). ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง:กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(4), 608-624.
วรัญญา จิตรบรรทัด; และคณะ. (2560). การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน. ใน รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
วราพร เอราวรรณ์. (2565). การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Mplus. เรียกใช้เมื่อ 10 มีนาคม 2565 จาก http://www.ires.or.th/wp- -Mplus.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). รายละเอียดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. เรียกใช้เมื่อ 20 สิงหาคม 2565 จาก http://nscr.nesdc.go.th/ns/
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2557). เคล็ดลับอายุยืน 100 ปี ชีวีมีสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2563). รายงานประจำปี 2563 สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 10 สิงหาคม 2565 จาก https://eh.anamai.moph.go.th/webupload/ 10x2f8665bc5c6742a30312c81435ca284e/filecenter/Annual%20report%20file/Annual%20report%202020.pdf
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2564). คู่มือแนวทางส่งเสริมสุขภาพดี ชะลอชรา ชีวายืนยาว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.