การประเมินโครงการส่งเสริมครูทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเวียงเทิง (เทิงทำนุประชา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4
คำสำคัญ:
การประเมินโครงการ, การส่งเสริมครู, วิจัยในชั้นเรียนม, การประเมินแบบซิปโมเดล, ประถมศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมครูทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเวียงเทิง (เทิงทำนุประชา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 โดยใช้ CIPP Model ซึ่งใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ รองผู้อำนวยการ และครู รวมจำนวน 48 คน เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาและร่วมทำกิจกรรมของโครงการ ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบวัดความรู้ความเข้าใจ และแบบสรุปข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบทของโครงการ โดยรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.55) 2) ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.81, S.D. = 0.12) 3) ด้านกระบวนการของโครงการ โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.83, S.D. = 0.34) 4) ด้านผลผลิตของโครงการ พบว่า 4.1) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 95.36 ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้ 4.2) ครูมีทักษะปฏิบัติในการทำวิจัยในชั้นเรียนคะแนนเฉลี่ย 50.89 คิดเป็นร้อยละ 82.08 ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้ 4.3) จำนวนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนเวียงเทิง (เทิงทำนุประชา) ทั้งหมดจำนวน 47 เรื่อง และ 4.4) ความพึงพอใจของรองผู้อำนวยการและครูต่อโครงการส่งเสริมครูทำวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
= 4.83, S.D. = 0.37)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธา.
ธีระ รุญเจริญ. (2546). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
ปราชญา รัตพลที. (2558). แนวทางการส่งเสริมครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนบ้านสันติสุข อำเภอแม่จัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 8(18), 195-202.
ปิยรัตน์ ท้าวตื้อ. (2558). การประเมินโครงการฝึกอบรมวิจัยในชั้นเรียน ตามแนวคิดการประเมินที่ใช้ทฤษฎีเป็นฐานของโรงเรียนสบปราบพิทยาคม ปีการศึกษา 2557. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน: ครูทุกคนทำได้ไม่ยาก. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2562). การประเมินโครงการ: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
ภาดี ขุนนนท์. (2563). การประเมินโครงการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนของวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 3(2), 55-72.
มนต์เมืองใต้ รอดอยู่. (2563). การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้สู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอิงฐานนวัตกรรมผ่านแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 1-19.
ยาใจ เดชขันธ์. (2558). การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนบ้านดอนศาลาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 81-92.
วรเชษฐ์ จันทร์ภิรมย์. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนอนุบาลลำพูน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.
สมคิด พรมจุ้ย. (2563). เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: จตุพรดีไซน์.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุกัญญา วีระจันทร์ และคณะ. (2558). การพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนชุมชนกุงเก่าราษฎร์ประสิทธิ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา, 15(58), 175-183.
สุวิมล ว่องวานิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Stufflebeam, D.L. (1967). The Use and Abuse of Evaluation in Title III. Theory into Practice, 6(3), 126-133.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.