ระบบและกลไกการขออนุญาตสร้างและตั้งวัดด้วยพลังบวร ศึกษาเฉพาะกรณี วัดซาราษฎร์บำรุง ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • พระปลัดสิรภพ งามเรียบ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูอรุณสุตาลังการ ปรีดา บัวเมือง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูวิรัตธรรมโชติ มีชัย พุทธสุภะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระครูโสภณรัตนบัณฑิต เทพรัตน์ เรืองศรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระสมุห์ธนภัทร ทิพย์วงษ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • พระบุญญฤทธิ์ ชูราศรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย
  • ปุญญาดา จงละเอียด คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • ทิพย์วรรณ จันทรา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช ประเทศไทย
  • สุชาติ มสันต์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช นครศรีธรรมราช ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ระบบและกลไก, การขออนุญาตสร้างและตั้งวัด, พลังบวร

บทคัดย่อ

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: การขออนุญาตสร้างและตั้งวัดในพระพุทธศาสนา มีการดำเนินการตามระบบและกลไกทางกฎหมายของกฎกระทรวง ว่าด้วยเรื่อง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัดการขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ. 2559
ซึ่งกระบวนการทางกฎหมายดังกล่าว มีองค์ประกอบ คือ ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ พื้นที่สร้างวัด ชุมชนอยู่รอบบริเวณที่จะสร้างวัด กระบวนการ ได้แก่ การแสดงสิทธิที่ดินจะสร้างวัด การขออนุญาตตามลำดับขั้นตอนจากล่างขึ้นบน เพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์และการทำกิจกรรมของพุทธศาสนิกชน บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบและกลไกพร้อมทั้งข้อเสนอแนะและแนวทางการขออนุญาตสร้างและตั้งวัดด้วยพลังบวรของวัดซาราษฎร์บำรุง ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีขอบเขตเนื้อหา ประกอบด้วย ด้านการขับเคลื่อนการขออนุญาตสร้างและตั้งวัดด้วยพลังบวร ด้านหลักเกณฑ์และวิธีการตั้งวัด ด้านการขออนุญาตสร้างและตั้งวัด
การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลที่ได้จากภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา กลุ่มพระสังฆาธิการในจังหวัดตรัง ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดตรัง นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตรัง และการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูป/คน

ผลการวิจัย: พบว่า 1) ระบบและกลไกการขออนุญาตสร้างและตั้งวัดด้วยพลังบวร ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการที่ทำให้ได้มาซึ่งที่ดิน ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการในการประสานงานกับพระสงฆ์ตั้งแต่มีการเริ่มขอตั้งวัด ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการในการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการของผู้มีส่วนร่วมของผู้นำในชุมชนในท้องถิ่น และ 2) แนวทางการขออนุญาตสร้างและตั้งวัดด้วยพลังบวร พบว่า ควรมีการแก้ไขหลักเกณฑ์ให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ได้แก่ กำหนดให้พื้นที่ตั้งวัดไม่จำเป็นต้องเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ของวัด กำหนดให้จำเป็นต้องมีอุโบสถ การยื่นเอกสารหลักฐานประกอบการขออนุญาตสร้างและตั้งวัดผ่านระบบออนไลน์ เพื่อให้สามารถดำเนินการเป็นไปด้วยความสะดวกและรวดเร็ว ไม่ล่าช้าจนเกินไป

ความเกี่ยวข้องกับหลักธรรมคําสอนทางพระพุทธศาสนา: ระบบและกลไกการขออนุญาตสร้างและตั้งวัด
ด้วยพลังบวร สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ สาราณียธรรม 6 ประกอบด้วย เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคี สีลสามัญญตา และทิฏฐิสามัญญตา เป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชน คณะสงฆ์ และส่วนราชการ ช่วยประสานการดำเนินงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว สร้างความสามัคคีเพื่อประโยชน์ส่วนรวมต่อพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง

สรุป: ระบบและกลไกการขออนุญาตสร้างและตั้งวัดด้วยพลังบวร เป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนได้พัฒนาและส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เพื่อให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่พึ่งทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนอย่างมั่นคง กรณีศึกษาวัดซาราษฎร์บำรุง ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการสร้างและขออนุญาตจัดตั้งวัดบนพื้นฐานความร่วมมือของคณะสงฆ์ ผู้นำชุมชน และหัวหน้าส่วนราชการ ให้มีสถานะเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย

References

Buddhist Places Division of National Office of Buddhism. (2016). Manual for Evaluating Temple Development Standards. Nakhon Pathom, Thailand: National Office of Buddhism.

Chittasophano, N. (2010). The Role of Monks and Temples and Past Development. Nonthaburi, Thailand: Sukhothai Thammathirat University.

Chulwanich, S. & Wattanapradit, K. (2023). Participation Process of "Bowon" Power According to the Principles of Buddhist Santi Method in Developing the Temple into a Buddhist Tourism Destination. MCU Santi Studies Review Journal, 11(1), 208-219.

Janthasaro, P., Kittisophano, K., Buddhisaro, R. & Jantavaree, S. (2023). Administrative Lessons Learned from Thai Monasteriesabroad with the Preservation of Buddhism: A Case Study of Wat Mongkhon Rattanaram Monastery, Tampa, U.S.A. Journal of Buddhist Innovation and Management, 6(4), 197-212.

Janthophaso, P. (2023). Temples Construction and Management of Religious Treasures of Temples in Thailand. Journal of Buddhist Innovation and Management, 6(5), 185-194.

O-in, S., Jirasirichote, A. & Upakankaew, K. (2024). Distribution and Change in the Number of Temples and Buddhist Personnel in Thailand. Dhammadhara Journal of Buddhist Studies, 10(1), 128-153.

Roslers, T. & Thitapanyo, M. (2020). The Evolution of Temples in Buddhism. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 7(3), 74-85.

Sukperm, K. (2019). The Model Development of People's Participation in Constructing and Establishing Temples According to the Sangha Act B.E. 2505 in Roi Et Province. Governance Journal, 8(2), 400-415.

Taisrikhot, P. T., Viram, P. S. & Thonghema, P. P. (2023). The Development of the Temple as a Community Knowledge Center in Wat Pho Ngam, Ban Tiw Noi, Tambon Na Pong, Amphoe Mueang, Loei Province. Journal of MCU Nakhondhat, 10(2), 283-298.

Yanasitthi, W. & Thitapanyo, M. (2019). A Development of the Theravada Buddhist Good Governance Indicators for Monastery Administration. Journal of MCU Nakhondhat, 6(8), 3870-3886.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/27/2024

How to Cite

งามเรียบ พ., บัวเมือง พ. ป. ., พุทธสุภะ พ. ม., เรืองศรี พ. เ., ทิพย์วงษ์ พ., ชูราศรี พ., อิศรเดช ธ., จงละเอียด ป., จันทรา ท., & มสันต์ ส. (2024). ระบบและกลไกการขออนุญาตสร้างและตั้งวัดด้วยพลังบวร ศึกษาเฉพาะกรณี วัดซาราษฎร์บำรุง ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง. วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 9(4), 331–344. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JSBA/article/view/274526