การบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธี: ศึกษาวิเคราะห์กรณีวัดเจดีย์ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ชุมชนสันติสุข, พุทธสันติวิธีบทคัดย่อ
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์: ความต้องการของทุกชุมชน คือ การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ประสานกลมเกลียว มีเสรีภาพ มีความยุติธรรม และไร้ซึ่งความขัดแย้ง ทั้งนี้ การบริหารจัดการชุมชนของวัดเจดีย์ ต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการพัฒนาชุมชนเพื่อสร้างชุมชนให้เกิดความยั่งยืนและสันติสุข การศึกษามีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาวิเคราะห์พุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุข และเพื่อพัฒนาและนำเสนอ
การบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีของวัดเจดีย์ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เป็นบุคคลผู้มี
ส่วนร่วมและมีประสบการณ์ในด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านในพื้นที่
จำนวน 28 ท่าน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านพระพุทธศาสนา ด้านการบริหารจัดการ
ด้านพัฒนาชุมชน เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม และการสันติเสวนา จำนวน 9 ท่าน และนำมาวิเคราะห์ อธิบายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย: การนำสาราณียธรรม 6 เป็นการดำเนินการเพื่อให้การบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดย
พุทธสันติวิธีของวัดเจดีย์ ไปสู่ความสันติสุขได้ ซึ่งประกอบด้วย 4 บริบท ได้แก่ 1) วัด โดยใช้หลักเมตตากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม เป็นการสื่อสารที่ดีซึ่งกันและกันในชุมชน การแสดงออกต่อกันด้วยความรักความปรารถนาดีต่อกัน 2) บ้าน โดยใช้หลักสาธารณโภคิตา เป็นความมั่นคงของฐานรากนำสู่การแบ่งปันองค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชน
3) โรงเรียน/ราชการ โดยใช้หลักสีลสามัญญตา การวางกฎเกณฑ์ในการอยู่ด้วยกัน และเคารพกฎเกณฑ์ที่วางไว้ และ 4) ชุมชน โดยใช้หลักทิฏฐิสามัญญตา การแบ่งปันความคิดประสบการณ์แก่กัน หาทางออกในการพัฒนาชุมชน และสร้างชุมชนสันติสุขได้ บนพื้นฐานของชุมชนเข้มแข็งในฐานของความเชื่อของไอ้ไข่ในปัจจุบัน ผ่านการส่งเสริม สร้างสรรค์ ผลักดัน นำสู่เป้าหมาย ตามองค์ประกอบ 10 ประการ ของ สันติเจดีย์โมเดล ส่งผลให้เกิดชุมชนสันติสุข คนในชุมชนมีหลักปฏิบัติมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต สร้างอาชีพร่วมกัน ศึกษาร่วมกัน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
รู้จักแบ่งปันกัน นำพาคนในชุมชนให้มีความสุข สงบสุข และสันติสุข โดยมีวัดเป็นแหล่งสนับสนุนในการดำเนินการ
ความเกี่ยวข้องกับหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา: การบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดยพุทธสันติวิธีของวัดเจดีย์ เป็นการดำเนินการโดยใช้หลักพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมโดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 ประการ
มาเพื่อบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขโดยการมีวัดเจดีย์เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนชุมชน ด้วยพลังของ บวร เพราะความสุขที่แท้จริงของทุกชุมชน คือ การทำให้ชุมชนสงบสุข ดำรงชีวิตอย่างสงบสุข และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทุก ๆ ด้าน โดยใช้หลักธรรม มาเป็นแนวทางของชุมชน
สรุป: การบริหารจัดการเพื่อสร้างชุมชนสันติสุขของวัดเจดีย์ โดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 เป็นแนวทางในการบริหารจัดการที่ทำให้ชุมชนสงบสุขผ่าน สันติเจดีย์โมเดล SANTI-CHEDI Model เป็นแนวคิดทำให้เกิดกระบวนการ
ในการเชื่อมโยงกันระหว่าง วัดกับพุทธบริษัท ราชการ ชุมชน และบ้าน เพื่อสร้างกิจกรรมในการพัฒนาชุมชน
ให้เกิดความสันติสุข อย่างที่พระพุทธศาสนากล่าวว่า นิพพาน ความสุขที่แท้จริง แปลว่า ดับ เย็น หมดจดจากกิเลส เมื่อความสุขเหล่านี้เกิดขึ้น ก็จัดว่าเป็นนิพพาน
References
Department of Religious Affairs, Ministry of Culture. (2016). Model Development: Driving the Community of Virtue with the Power of "BORWOR". Bangkok, Thailand: Religious Affairs Publishing House.
Department of Religious Affairs, Ministry of Culture. (2018). Operating the Community of Virtue Driven by the Power of BORWOR. Bangkok, Thailand: Aksorntai Publishing House.
Gandhi, M. (1985). The Answer to the Village, Rossana Kositrakul. (2nd ed.). Bangkok, Thailand: Komolkeemthong Foundation.
Kamales, N. & Knorr, H. (2019). Leaders with Managing Cultural Diversity and Communication. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 3(1), 63-72.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitaka. Bangkok, Thailand: MCU Press.
Phra Phaisan Visalo. (2007). Making Peace with Our Hands: A Nonviolent Action Manual for Practitioners. Nakhon Pathom, Thailand: Center for Peace and Conflict Studies, Mahidol University.
Phrakrupalad Adisak Vajirapañño, Phrakrupalad Pannavoravat & Satiman, U. (2024). A Model of Temple Development as a Spiritual Center of Urban Communities under the Noble Triumvirate of Home, Temple and School (Borworn) Framework: A Case Study of Wat Sarod Community, Bangkok. The Journal of Research and Academics, 7(4), 49-64.
Phrasamu Winyu Pooripanyo & Phra Rajpariyattikavi. (2020). A Model for the Development of Village, Monastery and School for Promoting Peaceful Community: A Case Study of Village, Monastery and School in Bang Kho Laem District, Bangkok. Journal of MCU Peace Studies, 8(3), 941-952.
Ruangmark, A. (2016). Sacred Temple Boy: Aikai Wat Jedi. Walailak Abode of Culture Journal, 16(1), 29-54.
Wattanapradith, K. (2018). Peace Community in the 26Th Buddhist Century: Knowledge Learned from Peace Community in Conflict Areas. Journal of MCU Peace Studies, 6(Special issue 1), 13-24.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.