มาตรฐานทางจริยธรรม

มาตรฐานจริยธรรมสำหรับผู้เขียน

  1. ผู้เขียนต้องรับผิดชอบและรับรองว่าต้นฉบับบทความได้ส่งมายังวารสารเพื่อการตีพิมพ์ในวารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ ผู้เขียนต้องไม่ส่งต้นฉบับบทความที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วหรืออยู่ในกระบวนการพิจารณาในวารสารอื่น ๆ
  2. ผู้เขียนต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดสำหรับการส่งต้นฉบับบทความไปยังวารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธอย่างเคร่งครัด ซึ่งข้อกำหนดนั้นรวมไปถึงรูปแบบการอ้างอิงซึ่งต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของวารสาร
  3. ผู้เขียนต้องแก้ไขและปรับปรุงต้นฉบับบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสาร ดั่งที่ได้อธิบายไว้ใน “คำแนะนำสำหรับผู้เขียน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขไฟล์ต้นฉบับบทความดั้งเดิม ซึ่งจะนำไปสู่การใช้รูปแบบมาตรฐานเดียวกันในทุก ๆ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์
  4. ผู้เขียนต้องพิจารณาจริยธรรมการวิจัย ผู้เขียนต้องไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน ทางวารสารจะพิจารณาใช้โปรแกรม CopyCatch ในเว็บไซต์ ThaiJo ในการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน
  5. ผู้เขียนทีมีชื่อปรากฏอยู่ในต้นฉบับบทความต้องมีส่วนร่วมในงานวิจัยของต้นฉบับบทความ ในการนี้ทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่อนุญาตให้มีการระบุรายชื่อผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำต้นฉบับบทความ ถ้าหากมีการตรวจ พบว่า บุคคลที่ปรากฏชื่อไม่ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำต้นฉบับบทความ ต้นฉบับบทความนั้นจะถูกถอดถอนจากการตีพิมพ์ทันที
  6. ผู้เขียนต้องรับผิดชอบการอ้างอิงในเนื้อหา รวมถึงเนื้อหาในภาพหรือตาราง ถ้าหากผู้เขียนอ้างอิงผลงานของต้นเอง ผู้เขียนต้องระบุ “แหล่งข้อมูล” เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งหากมีการฟ้องร้องทางกฎหมาย กรณีนี้จะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว วารสารจะไม่มีส่วนรับผิดชอบในทุกกรณีและจะถอดถอนบทความจากการตีพิมพ์ของวารสาร
  7. ผู้เขียนต้องรับรองความแม่นยำของรายการเอกสารอ้างอิงทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหา และต้องไม่อ้างอิงถึงงานวิจัยที่ผู้เขียนยังไม่ได้อ่านหรือไม่ได้นำมาใส่ในหน้าเอกสารอ้างอิง แต่ผู้เขียนต้องอ้างอิงตามรูปแบบการอ้างอิงของวารสาร ซึ่งการอ้างอิงต้องเป็นไปตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
  8. ผู้เขียนต้องแก้ไขต้นฉบับบทความตามผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและสมาชิกกองบรรณาธิการตามเวลาที่กำหนด ถ้าหากผู้เขียนไม่ปฏิบัติตาม การตีพิมพ์ก็จะถูกเลื่อนเวลาออกไปหรือถูกถอดถอนจากวารสาร
  9. ผู้เขียนควรระบุชื่อแหล่งทุนของงานวิจัย (ถ้ามี) หรือระบุความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี)
  10. ผู้เขียนต้องไม่ระบุข้อมูลที่ไม่แม่นยำตามความเป็นจริงในต้นฉบับบทความ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือการปลอมแปลง การบิดเบือน และรวมไปถึงการตกแต่งข้อมูล หรือเจตนาเลือกข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับบทสรุป
  11. ผู้เขียนไม่ควรอ้างอิงเอกสารที่ถูกถอดถอนไปแล้ว เว้นแต่ข้อความสนับสนุนเป็นข้อความที่เกี่ยวข้องกับการถอดถอน ซึ่งควรมีการกล่าวถึงในเอกสารการอ้างอิงเช่นเดียวกันกับเอกสารที่ถูกถอดถอน

 มาตรฐานจริยธรรมสำหรับบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการต้องกำกับและติดตามการทำงานของวารสารตามนโยบายและวัตถุประสงค์อย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรม ซึ่งสอดคล้องกับประกาศของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) เกี่ยวกับจริยธรรมและมาตรฐานทางจริยธรรมของวารสารวิชาการของไทย ซึ่งปรากฏในฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และ วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
  2. บรรณาธิการต้องกำกับ ตรวจสอบ และดำเนินการด้วยความเหมาะสมต่อผู้เขียนหรือบทความที่ถูกตรวจพบว่า มีการละเมิดจริยธรรมหรือมาตรฐานทางจริยธรรม เช่น การละเมิดหรือการคัดลอกผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน วารสารมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของเนื้อหาด้วยโปรแกรม CopyCatch บนเว็บไซต์ ThaiJo
  3. บรรณาธิการต้องกำกับดูแลการตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น การตีพิมพ์บทความของตนเอง (บทความของบรรณาธิการ หรือหัวหน้ากองบรรณาธิการ) หรือการสูญหายของผลงานตีพิมพ์ก่อนหน้ากระบวนการพิจารณาที่สืบเนื่องจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่มีความเชี่ยวชาญกับสาขาวิชาของบทความ เป็นต้น
  4. บรรณาธิการต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและประเมินคุณภาพของบทความต้นฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสาร และบทความต้นฉบับต้องได้รับเลือกเพื่อตีพิมพ์เนื่องด้วยความครบถ้วนสมบูรณ์และความสอดคล้องของเนื้อหาต่อนโยบายของวารสาร บทความต้องมีข้อความสำคัญที่สะท้อนมุมมอง แนวคิด ทฤษฎี ที่มาจากประสบการณ์ การสังเคราะห์เอกสาร หรืองานวิจัยที่มุ่งเน้นการนำเสนอแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบแนวคิดต่าง ๆ ที่สามารถช่วยส่งเสริมความเข้าใจและนำไปสู่การวิจัยในประเด็นที่มีความสำคัญทางวิชาการ
  5. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับผู้เขียนหรือผู้ทรงคุณวุฒิต่อบุคคลที่สามในระหว่างกระบวนการพิจารณาบทความต้นฉบับ ทางวารสารใช้ระบบ peer-review ที่เข้มงวดแบบไม่เปิดเผยชื่อ ซึ่งตัวตนของทั้งผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ถูกเปิดเผยต่อกัน
  6. บรรณาธิการต้องไม่ตีพิมพ์บทความต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว ไม่ว่าบทความต้นฉบับนั้นจะถูกตีพิมพ์ในรูปแบบใดก็ตาม โดยบทความต้นฉบับต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อตรวจหาการคัดลอกผลงานด้วยเว็บไซต์ของวารสารที่อยู่ภายใต้สังกัด ThaiJo โดยใช้โปรแกรมที่ได้รับความเชื่อถือ เช่น CopyCatch เพื่อรับประกันว่าผลงานตีพิมพ์ทุกฉบับในวารสารนั้นไร้การคัดลอกผลงาน กระบวนการพิจารณาบทความต้นฉบับต้องยุติการดำเนินการทันที ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม เมื่อมีการตรวจพบการคัดลอกผลงาน และบรรณาธิการจะติดต่อผู้เขียนหลักทันทีเพื่อรายงานว่าจะ “ยอมรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความต้นฉบับ
  7. ทั้งนี้ เพื่อรับประกันความสงบเรียบร้อยในการทำงาน บรรณาธิการต้องละเว้นจากการมีส่วนร่วมกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่ว่ากรณีใด ๆ
  8. บรรณาธิการต้องไม่ถือเอาเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความใด ๆ มาเป็นผลงานของตน
  9. บรรณาธิการต้องรับผิดชอบการตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่ใช้ระเบียบการดำเนินการวิจัยที่ถูกต้องและมีผลการวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือ โดยใช้ผลการวิจัยเป็นตัวชี้วัดในการตีพิมพ์
  10. ถ้าหากบรรณาธิการ พบว่า มีบทความที่มีการคัดลอกผลงานโดยทุจริตหรือใช้ข้อมูลที่ถูกบิดเบือน ซึ่งสมควรต้องตัดเนื้อหานั้นออกจากบทความ แต่ผู้เขียนปฏิเสธการถอดถอนบทความนั้น บรรณาธิการสามารถถอดถอนบทความนั้นโดยปราศจากความยินยอมของผู้เขียน เนื่องจากเป็นสิทธิ์และความรับผิดชอบของบรรณาธิการ
  11. บรรณาธิการเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาศักยภาพของสมาชิกทีมบรรณาธิการ และควรมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล
  12. บรรณาธิการต้องกำกับดูแลตนเองและสมาชิกทีมบรรณาธิการในด้านตัวเลขและคุณภาพของการอ้างอิงที่ถูกบิดเบือนจากความเป็นจริง เช่น การร้องขอการอ้างอิงบทความในวารสาร อย่างเปิดเผยหรืออย่างลับ ๆ และการอ้างอิงในรูปแบบที่ไม่ถูกต้องซึ่งไม่สอดคล้องกับเนื้อหา
  13. บรรณาธิการต้องกำกับดูแลการจัดเก็บค่าเข้าชมบทความหรือค่าดำเนินการตีพิมพ์ ซึ่งต้องมีความโปร่งใส เช่น การร้องขอการรายงานอย่างชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการจัดเก็บรายได้ หรือการระบุราคาหรือเงื่อนไขของค่าเข้าชมบทความและค่าดำเนินการตีพิมพ์ ในรายงานประกาศอย่างเข้มงวด

มาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิควรมีจริยธรรม โดยต้องพิจารณาบทความต้นฉบับที่ตนมีความเชี่ยวชาญ คุณสมบัติ หรือความสามารถเกี่ยวกับสาขาวิชาหรือต้นฉบับบทความที่ได้รับการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒิควรพิจารณาเนื้อหาของต้นฉบับบทความจากความสำคัญในเนื้อหาที่มีต่อสาขาวิชาของการวิจัย คุณภาพของการวิเคราะห์ข้อมูล และความเข้มข้นของผลงาน หรือระบุงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับต้นฉบับบทความที่ได้รับการประเมิน อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงต้นฉบับบทความที่ได้รับการประเมิน ผู้ทรงคุณวุฒิไม่ควรใช้ความคิดเห็นส่วนบุคคลโดยปราศจากข้อมูลสนับสนุนมาเป็นเกณฑ์การตัดสินต้นฉบับบทความ และควรปฏิเสธการประเมินต้นฉบับบทความที่ตนไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิควรมีจริยธรรมในการให้ความคิดเห็นเชิงวิชาการของตนลงในแบบประเมินหรือต่อเนื้อหาในต้นฉบับบทความด้วยความยุติธรรม ไม่อคติ ตรงไปตรงมา เป็นกลาง และตรงต่อเวลาที่วารสารกำหนด
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีจริยธรรมในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของต้นฉบับบทความและไม่เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับต้นฉบับบทความต่อผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการประเมินและภายหลังที่ต้นฉบับบทความได้รับการพิจารณาแล้ว
  4. หลังจากที่ผู้ทรงคุณวุฒิได้รับต้นฉบับบทความจากบรรณาธิการแล้ว และผู้ทรงคุณวุฒิได้ตระหนักว่าตนได้มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับผู้เขียนซึ่งทำให้ตนไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งต่อบรรณาธิการและปฏิเสธการประเมินต้นฉบับบทความนั้น ๆ
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิควรพิจารณาเฉพาะในประเด็นที่ได้รับมอบหมาย ถ้าหากว่าต้นฉบับบทความนั้นเป็นต้นฉบับบทความของบทความวิชาการ ชื่อของบทความอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าเป็นต้นฉบับบทความของบทความวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิต้องพิจารณาเฉพาะการสะกดคำเท่านั้น โดยที่ชื่อบทความต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  6. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่ถือเอาเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความใด ๆ มาเป็นผลงานของตน
  7. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า เนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่งมีความคล้ายคลึงหรือซ้ำซ้อนกับต้นฉบับบทความอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งต่อบรรณาธิการด้วยหลักฐานที่ชัดเจน

 

คำชี้แจงเรื่องการประพฤติมิชอบในการตีพิมพ์

              วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ (JBA) มีกระบวนการที่เข้มงวดในการดำเนินการต่อการประพฤติมิชอบในการตีพิมพ์ วารสาร JBA มุ่งมั่นที่จะรักษาและปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม มีความกระตือรือร้นในการตอบสนองต่อข้อร้องเรียนในการประพฤติมิชอบการตีพิมพ์ด้วยความเคร่งครัด วารสาร JBA ให้ความสำคัญกับกระบวนการตามหลักการต่อไปนี้

  1. การลอกเลียนแบบ: วารสาร JBA มีกระบวนการที่เข้มงวดต่อการลอกเลียนแบบ การลอกเลียนแบบทุกรูปแบบถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง การนำเสนอผลงานของผู้อื่นโดยไม่ได้ให้เครดิตแก่เจ้าของผลงานที่แท้จริง อาจเป็นการคัดลอกผลงานทั้งหมดหรือบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือรับทราบอย่างเหมาะสม ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำโดยเด็ดขาด หากเกิดการตรวจพบการลอกเลียนแบบต้นฉบับจะถูกปฏิเสธทันที
  2. การปลอมแปลง: การปลอมแปลง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือบิดเบือนข้อมูลของผลลัพธ์ ที่มีอยู่จริงให้ผิดไปจากเดิม วารสาร JBA ห้ามมิให้มีการปลอมแปลงหรือบิดเบือนข้อมูลของผลลัพธ์โดยเด็ดขาด ผู้เขียนจะต้องนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ การปลอมแปลงในรูปแบบใด ๆ ถือเป็นการละเมิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง
  3. การส่งผลงานซ้ำซ้อน: วารสาร JBA ไม่สนับสนุนการส่งต้นฉบับไปยังวารสารเพื่อการพิจารณาพร้อมกันกับวารสารอื่น ผู้เขียนไม่ควรส่งผลงานที่ตีพิมพ์แล้วหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ไปยังวารสารหลายฉบับ การส่งผลงานซ้ำซ้อนถือเป็นการประพฤติมิชอบในการตีพิมพ์ และต้นฉบับดังกล่าวจะถูกปฏิเสธทันที
  4. ข้อพิพาทเกี่ยวกับผู้เขียน: หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับผู้เขียน บรรณาธิการจะพิจารณาข้อมูลตามหลักฐานการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญในงานวิจัยนั้น ผู้เขียนต้องแสดงถึงการมีส่วนร่วมของบุคคลที่เกี่ยวข้องในการวิจัยอย่างถูกต้อง และให้ข้อมูลที่แม่นยำและครอบคลุมเกี่ยวกับการดำเนินการของงานวิจัย ทางวารสาร JBA ให้ความสำคัญกับความถูกต้อง ความโปร่งใสและต้องได้รับการแก้ไขข้อพิพาทก่อนที่จะส่งต้นฉบับเพื่อดำเนินการกับวารสาร
  5. ความซื่อสัตย์ในการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ: ผู้ทรงคุณวุฒิต้องประเมินต้นฉบับอย่างเป็นกลางและเป็นธรรม โดยปราศจากอคติหรือผลประโยชน์ทับซ้อนใด ๆ และต้องเปิดเผยผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งหมดที่อาจส่งผลต่อการประเมินต้นฉบับ รวมทั้งการเคารพความลับของต้นฉบับและไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับต้นฉบับแก่บุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต วารสาร JBA เน้นย้ำถึงการรักษาความสมบูรณ์ของกระบวนการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และห้ามมิให้พยายามบิดเบือนกระบวนการดังกล่าวโดยเด็ดขาด ผู้ทรงคุณวุฒิต้องให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์เพื่อช่วยปรับปรุงต้นฉบับ ปฏิบัติตามแนวทางการประเมินที่กำหนดโดยวารสาร
  6. การเพิกถอนและการแก้ไข: เมื่อเกิดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในบทความที่ตีพิมพ์ วารสาร JBA มีมาตรการที่ใช้ดำเนินการเพิกถอนและแก้ไขข้อผิดพลาดหรือการประพฤติมิชอบที่เกิดขึ้นในบทความที่ตีพิมพ์ โดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การเพิกถอน คือ การลบบทความที่ตีพิมพ์ออกจากระบบถาวรอย่างสมบูรณ์ โดยจะใช้ในกรณีที่มีการประพฤติมิชอบอย่างร้ายแรง การแก้ไข คือ การเผยแพร่เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง โดยใช้ในกรณีที่ข้อผิดพลาดไม่ร้ายแรงและไม่ส่งผลกระทบต่อข้อสรุปหลักของวารสาร โดยดำเนินการอย่างทันที รวดเร็ว โปร่งใส เป็นไปตามแนวทางที่วารสารกำหนดไว้
  7. การรายงานการประพฤติมิชอบ: หากตรวจพบการประพฤติมิชอบในการตีพิมพ์ ทางวารสาร JBA ให้ผู้เขียน ผู้ตรวจสอบ และผู้อ่าน สามารถรายงานการประพฤติมิชอบ การละเมิดจริยธรรม หรืออื่น ๆ โดยการติดต่อกองบรรณาธิการ ทางวารสาร JBA มีการดำเนินการที่เคร่งครัดในการตรวจสอบการรายงานการประพฤติมิชอบดังกล่าวอย่างละเอียด และเป็นระบบ โดยดำเนินการตามความเหมาะสมที่วารสารกำหนด

           วารสารมานุษยวิทยาเชิงพุทธ (JBA) มีความมุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มที่ เพื่อความสมบูรณ์ของกระบวนการที่เข้มงวด เคร่งครัด แน่วแน่ ในการดำเนินการป้องกันและจัดการกับการประพฤติมิชอบในการตีพิมพ์ เพื่อให้ผู้เขียน ผู้ตรวจสอบ ผู้วิจารณ์ และผู้อ่าน มีความไว้วางใจ วารสาร JBA รักษามาตรฐานด้านการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และมาตรฐานสูงสุดด้านจริยธรรมในทุกขั้นตอน เมื่อเกิดการประพฤติมิชอบทางวารสาร JBA จะดำเนินการทันทีตามแนวทางและมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม

 

แปลและอัปเดตจาก

https://publicationethics.org/

https://tci-thailand.org/

ประกาศของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) เรื่องการประเมินจริยธรรม/มาตรฐานจริยธรรมของวารสารวิชาการไทยในฐานข้อมูล TCI เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2562