การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการจัดการข้อเสนอโครงงานสำหรับการเรียนรู้ด้วยวิจัยเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับสนับสนุนการจัดการข้อเสนอโครงงานในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิจัยเป็นฐาน ผู้วิจัยนำเสนอการออกแบบและพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนและครู โรงเรียนเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ประเมินผล 3 ด้าน ได้แก่ การออกแบบเว็บ ประสิทธิภาพของระบบ และการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยวิจัยเป็นฐานผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.22, S.D.= 0.71) ซึ่งด้านการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยวิจัยเป็นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.33, S.D.= 0.66) ดังนั้นสรุปได้ว่า เว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปใช้งานเพื่อสนับสนุนการจัดการข้อเสนอโครงงานสำหรับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิจัยเป็นฐานได้เป็นอย่างดี
Article Details
วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร
แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้
1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component > Article Text
2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component > Other
ดาวน์โหลด ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
References
โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาและกระบวนการพัฒนาครู. (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับโครงการ. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2560, จากโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา: kruvijai.wordpress.com
จิราวุธ วารินทร์. (2558). สร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบ Responsive ด้วย PHP Bootstrap + E-commerce (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซิมพลิฟาย.
ไฉน ผลดี. (2553). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนบ้านโนนยาง. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เดชมณี เนาวโรจน์ ยาใจ เจริญพงษ์ สาคร ทองเทพ และสุมาลี เฮงยศมาก. (2558). การพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาโรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ในพระสังฆราชูปถัมภ์. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 9 (หน้า 250-258). วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2558. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ภาณุพงศ์ ปัญญาดี. (ม.ป.ป.). AppServ คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2560, จาก AppServ: www.appserv.org/th/เกี่ยวกับ
ระวีวรรณ วงศ์พิมพ์. (2552). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษาศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วรทัย ทองอินทร์ จักรพันธ์ สุวรรณพิมพ์ สุขขี บรรลือ นิออน วิชัย นิษฐา กุลโท ลาพึง เปี่ยมสติ และจักรพันธ์ แสงทอง. (2558). ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานฐานวิจัย (RBL) เรื่องไมยราบยักษ์ ของโรงเรียนเดชอุดม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 9 (หน้า 469-478). วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2558. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สมนึก ภัททิยธนี. (2541). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สิรจิตต์ เดชอมรชัย และชนยา ด่านสวัสดิ์. (2555). ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ในรายวิชาภาษาฝรั่งเศสระดับกลาง 1 สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8, 49-64.
สุธีระ ประเสริฐสรรพ์. (2555). โครงงานฐานวิจัย: กระบวนการเรียนรู้ใหม่ของการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.