ความเข้าใจมโนมติและแบบจำลองทางความคิด เรื่อง สมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการเรียนด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเทคนิคการทำนาย-สังเกต-อธิบาย

Main Article Content

กฤษฎา พนันชัย
พนัสดา มาตราช
สุภาพ ตาเมือง
ศักดิ์ศรี สุภาษร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจมโนมติและแบบจำลองทางความคิด เรื่อง สมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเทคนิคการทำนาย-สังเกต-อธิบาย จำนวน 10 ชั่วโมง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความเข้าใจมโนมติแบบวินิจฉัย 2 ลำดับขั้น และแบบวัดแบบจำลองทางความคิด จากการวิเคราะห์แบบวัดความเข้าใจมโนมติ พบว่า นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนมติหลังเรียน (mean 19.32, S.D. 6.09) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 8.06, S.D. 3.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยหลังเรียนมีผลรวมร้อยละของนักเรียนที่ไม่มีความเข้าใจมโนมติและผิด (NU+MU) ลดลงจากก่อนเรียนร้อยละ 29.01 ส่วนผลรวมร้อยละของนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนมติถูกต้องและไม่สมบูรณ์ (SU+PU) เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนร้อยละ 32.72 และจากกการวิเคราะห์แบบจำลองทางความคิดหลังเรียน พบว่าผลรวมร้อยละของนักเรียนที่ไม่มีความเข้าใจมโนมติและผิด (NU+MU) เป็น 15.55 และผลรวมร้อยละของนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนมติถูกต้องและไม่สมบูรณ์ (SU+PU) เป็น 68.89 แสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้สามารถพัฒนาความเข้าใจมโนมติมโนมติเรื่องสมดุลเคมี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

เยาวเรศ ใจเย็น และคณะ. (2550). แนวคิดเรื่องสมดุลเคมีของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสงขลา-นครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 13(4), 541-553.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2551). แนวคิดทางเลือกของนักเรียนในวิชาเคมี. วารสารศึกษาศาสตร์ หาวิทยาลัยสงขลา-นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 19(2), 10-25.

ทัศวรรณ ภูผาดแร่ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับกิจกรรมทำนาย-สังเกต-อธิบาย. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 6 (หน้า 1-6). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พนิดา กันยะกาญจน์ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับแบบเปรียบเทียบเพื่อพัฒนามโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 6 (หน้า 26-31). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์ ชาตรี ฝ่ายคำตา และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่องโครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 1(1), 97-124.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทตถาตา พับลิเคชั่น.

วิทยา ภาชื่น และไพศาล สุวรรณน้อย. (2553). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเปรียบเทียบเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงมโนมติ เรื่องสมดุลเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(พิเศษ), 1-17.

ศักดิ์ศรี สุภาษร. (2555). บทบาทของเมนทอลโมเดลในการเรียนรู้วิชาเคมีระดับโมเลกุล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(1), 1-7.

ศักดิ์ศรี สุภาษร นุจรี สุภาษร วรรณวไล อธิวาสน์พงศ์ และสนธิ พลชัยยา. (2559). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติ เรื่อง สารละลาย ด้วยการทดลองแบบสืบเสาะร่วมกับภาพเคลื่อนไหวระดับอนุภาค สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(1), 28-47.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2549). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 1-15.

ฮิกมะฮ์ อาแวกะจิ และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2558). การพัฒนาความเข้าใจมโนมติวิทยาศาสตร์ เรื่องสมดุลเคมี ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคทำนาย-สังเกต-อธิบายในขั้นขยายความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ ม.อบ. วิจัย ครั้งที่ 9 (หน้า 388-398). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Hompromma, A. and Suwannoi, P. (2010). Grade 10 Thai students’ analogy for explaining rate of reaction. In Proceeding of the 41st Australasian Science Education Research Association (pp. 40-45). New South Wales, Australia: Dave Palmer.

Eilks, I. and Gulacar, O. (2016). A colorful demonstration to visualize and inquire into essential elements of chemical equilibrium. Journal of Chemical Education, 93(11), 1904-1907.

Turner, K.L. (2016). A cost effective physical modeling exercise to develop students' understanding for covalent bonding. Journal of Chemical Education, 93(6), 1073-1080.

Kelly, R.M. and Akaygun, S. (2016). Insights into how students learn the difference between a weak acid and a strong acid from cartoon tutorials employing visualizations. Journal of Chemical Education, 93(6), 1010-1019.

Supasorn, S. (2015). Grade 12 students’ conceptual understanding and mental models of galvanic cells before and after learning by using small-scale experiments in conjunction with a model kit. Chemistry Education Research and Practice, 16(2), 393-407.