ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกับแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องตารางธาตุ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

นุชจิรา แดงวันสี
ปริญวรรณ สุนทรักษ์
สนธิ พลชัยยา
กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องตารางธาตุ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกับแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ แบบแผนการวิจัยที่ใช้คือ การทดลองแบบกลุ่มเดียว โดยการสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 25 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนบ้านเขานาใน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยจำนวน 30 ข้อ แอปพลิเคชันได้แก่ แอปพลิเคชันตารางธาตุ แอปพลิเคชันตารางธาตุเค็มนินจาและแอปพลิเคชันมาจองเคม ในกูเกิลเพลย์สโตร์บนโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เฉลี่ยเท่ากับ 4.58 อยู่ในระดับมากที่สุด และดัชนีประสิทธิผลของแอปพลิเคชันมีค่าเท่ากับ 0.81

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2 ) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กฤษณาพร จันทะพันธ์ กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา และจุฑามาส จิตต์เจริญ. (2554). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการใช้สื่อประสมปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องตารางธาตุของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ, 3(ฉบับพิเศษ), 202 - 209.

กัญญา โชคสวัสดิ์ภิญโญ กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา และมะลิวรรณ อมตธงไชย. (2554). การใช้ชุดการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจด้วยเทคนิคกลุ่มแข่งขัน (TGT) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโมลและสารละลาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคเหนือ, 3(พิเศษ), 222-232.

กิดานันท์ มลิทอง. (2544). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จตุพร โกศัลวัฒน์. (2555). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องตารางธาตุด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร-มหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ไชยา พรมโส ประนอม แซ่จึง และกานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2558). การศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนและมโนมติ เรื่องรูปร่างและสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี้. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 6(1), 57 - 69.

ดาราวรรณ นนทวาสี. (2557). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนรู้บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์: กรณีศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนท่าขุมเงินวิทยาคาร. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (หน้าที่ 2182-2191). วันที่ 28 มีนาคม 2557. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ดาลารีน อับดุลฮานุง ศักดิ์ศรี สุภาษร และอัญชลี สำเภา. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กรด-เบส และวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือร่วมกับโครงงานวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, 23(1), 123-134.

ทิศนา แขมมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรฑูรณ์ สิงห์ดี และศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย. (2557). การวิจัยและพัฒนาสื่อแอปพลิเคชันบนแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15 (หน้า 623-634). วันที่ 23 กรกฎาคม 2558. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1-2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์.

ปฐมาวดี พละศักดิ์. (2557). ความก้าวหน้าทางการเรียนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่องปริมาณสารสัมพันธ์. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เผชิญ กิจระการ. (2545). ดัชนีประสิทธิผล (Effectiveness Index : E.I.). วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(1), 30-36.

พรทิพย์ เมืองแก้ว กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา และพรพรรณ พึ่งโพธิ์. (2553). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเรื่องไฟฟ้าเคมี. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 1(1), 20 - 27.
พรพีระ สังข์กระแสร์. (2548). การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการเรียนกับแผนการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดสื่อประสมวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) เรื่องการเคลื่อนที่แบบต่างๆ. สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 มีนาคม 2559, จากวิทยานิพนธ์ออนไลน์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร: https://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000003320

พระคุณ จาตกะวร. (2556). การพัฒนาแอปพลิเคชันเรื่องการเคลื่อนที่แนวตรงบนไอแพด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหอวัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2559, เครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์: https://intanin.lib.ku.ac.th/search~S0*thx/?searchtype=a&searcharg=Prakul%20JATAKAVON

ราตรี พุทธทอง. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านความจำกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559, จากคลังปัญญาหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PSU Knowledge Bank: https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2010/6707

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยเพื่อการศึกษา. กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2555). ปัญญาสะสมบนสังคมออนไลน์. วารสารศึกษาศาสตร์, 14(1), 91-100.

สมบัติ ท้ายเรือคํา. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม: ภาควิชาวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สรวีย์ ศิริพลา. (2557). ผลการใช้แท็บเล็ตในชั้นเรียนที่มีต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน: การวิจัยแบบผสมวิธี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4), 320-334.

สุคนธ์ สินธพานนท์.(2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน(ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มืออบรมปฏิบัติ การบูรณาการใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Tablet) เพื่อยกระดับการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อชิรวิทย์ เทนโสภา และกานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเกมเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องธาตุและสารประกอบ ของนักเรียนที่ไม่เน้นวิทยาศาสตร์. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ม.อบ.วิจัย ครั้งที่ 8 (หน้า 43-44). วันที่ 17-18 กรกฎาคม 2557. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

Couse, L. J. and Chen, D. W. (2010). A tablet computer for young children? exploring its viability for early childhood education. Journal of Research on Technology in Education, 43(1), 75-98.

Barma, J. (1989). An application-oriented periodic table of the element. Journal of Education and Learning, 6(9), 741-745.

Royal Society of Chemistry. (2016). Periodic table. Retrieved 15 March 2015, from Google Play: goo.gl/4LJqEI

Slavin, R. E. (1990). Cooperative learning: Theory research and practice. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.
Stetson University. (2016). Mahjong Chem. Retrieved 30 March 2015, from Google Play: goo.gl/PkmMS7