การสืบเสาะหาความรู้แบบเปิดร่วมกับการใช้แบบจำลองทางกายภาพ: ความเข้าใจมโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การแตกตัวของกรดและเบส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์แบบเปิดร่วมกับการใช้แบบจำลองทางกายภาพเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ นักเรียนเป็นผู้ตั้งสมมติฐานจากประเด็นปัญหาที่ครูผู้สอนเป็นคนกำหนด ออกแบบขั้นตอนแผนการดำเนินการ วิเคราะห์ และสรุปผลด้วยตนเอง โดยมีการใช้แบบจำลองทางกายภาพในขั้นตอนการแปลความหมายข้อมูลเพื่อส่งเสริมความเข้าใจมโนมติ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจมโนมติ เรื่อง การแตกตัวของกรดและเบส ของนักเรียนที่ถูกจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบเสาะหาความรู้แบบเปิดร่วมกับการใช้แบบจำลองทางกายภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 26 คน ในจังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความเข้าใจมโนมติก่อนและหลังเรียนแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เป็นร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความเข้าใจมโนมติหลังเรียนในระดับที่สมบูรณ์ (SU) เพิ่มขึ้น 21.15% ความเข้าใจมโนมติระดับที่ถูกต้องแต่ไม่สมบูรณ์ (PU) เพิ่มขึ้น 14.42% ความเข้าใจมโนมติระดับที่คลาดเคลื่อนบางส่วน (PS) ลดลง 1.92% ความเข้าใจมโนมติระดับที่คลาดเคลื่อน (SA) เพิ่มขึ้น 6.73% และมีความไม่เข้าใจ (NU) ลดลง 40.38%
Article Details
วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร
แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้
1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component > Article Text
2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component > Other
ดาวน์โหลด ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
References
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Banchi, H. and Bell, R. (2008). The Many Levels of Inquiry. Science and Children, 46(2), 26-29.
Bell, L. R., Smetana, L. and Binns, I. (2005). Simplifying inquiry instruction: Assessing the inquiry level of classroom activities. The Science Teacher, 72(7), 30–33.
Beyza, K. B. (2013). Using two-tier test to identify primary students’ conceptual understanding and alternative conception in acid base. Mevlana International journal of education, 3(2), 19-26.
Bruce, A. T. (2015). Pre-experimental research designs. Quasi-experiment research designs, 29-75.
Buck, L. B. , Bretz, S. L. and Towns, M. H. ( 2008) . Characterizing the level of inquiry in the undergraduate laboratory. Journal of College Science Teaching, 38(1), 52-58.
Çalik, M. and Ayas, A. (2005). A comparison of level of understanding of eighth-grade students and science student teachers related to selected chemistry concepts. Journal of Research in Science Teaching, 42(6), 638-667.
Chiu, M. H. (2007). A national survey of students’ conceptions of chemistry in Taiwan. Chemical Education International, 29, 421-452.
Cullen, D. M. and Pentecost, T. C. (2011). A model approach to the electrochemical cell: An inquiry activity. Journal of Chemical Education, 88(11), 1562-1564.
Doymus, K. , Karacop, A. and Simsek, U. ( 2010) . Effects of jigsaw and animation techniques on students’ understanding of concepts and subjects in electrochemistry. Educational Technology Research and Development, 58, 671-691.
Demirciolu, G. , Ayas, A. and Demirciolu, H. (2005) . Conceptual change achieved through a new teaching program on acids and bases. Chemistry Education Research and Practice, 6, 36–51.
Halstead, S. E. (2009). A critical analysis of research done to identify conceptual difficulties in acid-base chemistry. Master of Science Dissertation. KwaZulu-Natal, South Africa: University of Kwazulu-Natal, Pietermaritzburg.
Justi, R. and Gilbert J. K. (2002). Models and modeling in chemical education. In J. K. Gilbert, O. D. Jong, R. Justi, D. F. Treagust, J. H. VanDriel, (Eds.), Chemical Education: Towards Research Based Practice, (pp. 47–68). Dordrecht: Kluwer Academic Publishers.
National Research Council. (2012). A framework for k-12 science education: Practices, crosscutting concepts, and core ideas. Washington, DC: The National Academies Press.
Osman, K. and Sukor, N. S. (2013) . Conceptual understanding in secondary school chemistry: A discussion of the difficulties experienced by student. American Journal of Applied Sciences, 10(5), 433-441.
Pedaste, M., Mäeots, M., Siiman, L. A., de Jong, T., van Riesen, S. A., Kamp, E. T., Manoli, C. C., Zacharia, Z. and Tsourlidaki, E. (2015). Phases of inquiry-based learning: Definitions and the inquiry cycle. Educational research review, 14, 47-61.
Sheppard, K. ( 2006) . High school students’ understanding of titrations and related acid- base phenomena. Chemistry Education Research and Practice, 7(1), 32-45.
Supasorn, S. (2015). Grade 12 Students’ conceptual understanding and mental models of galvanic cells before and after learning by using small- scale experiments in conjunction with a model kit. Chemical Education, 16, 393-407.
Treagust, D., Chittleborough, G. and Mamiala, T. (2003). The role of submicroscopic and symbolic representations in chemical explanations. International Journal of Science Education, 25(11), 1353-1368.
Treagust, D. , Won, M. and Chandrasegaran A. L. ( 2016) . High school students’ understanding of acid-base conception: An ongoing challenge for teacher. International Journal of Environmental and Science Education, 11(1), 9-27.