การจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลองเรื่อง การระเหยที่มีต่อกระบวนการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ณัฐนรี คณะเมือง
ร่มเกล้า จันทราษี

บทคัดย่อ

กระบวนการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในด้านการส่งเสริมให้มีมโนมติที่ถูกต้อง โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ตามสภาพจริง คือ การสร้าง การประเมินคุณค่า การปรับปรุง และการนำแบบจำลองไปใช้ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การระเหย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลอง (MCIS) กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 16 คน ในจังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยใบกิจกรรมเรื่อง การระเหย และการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลเป็นร้อยละ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีกระบวนการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์เรื่อง การระเหย ในด้านการสร้างและการประเมินแบบจำลองอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 43.75 และ 43.75 ตามลำดับ) ด้านการปรับปรุงแบบจำลองอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 50.00) และด้านการนำแบบจำลองไปใช้อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 50.00) โดยด้านการปรับปรุงและนำแบบจำลองไปใช้ถือเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างแบบจำลอง ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นแบบจำลอง (MCIS) จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

ปวีนา งามชัด และไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์. (2557). การเปลี่ยนแปลงมโนมติทางวิทยาศาสตร์และความสัมพันธ์ ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับการเปลี่ยนแปลงมโนมติ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 เมื่อใช้ยุทธศาสตร์การสอนเพื่อเปลี่ยนมโนมติ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัย บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(1), 164-171.

ลือชา ลดาชาติ และลฎาภา ลดาชาติ. (2559). ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ของนิสิตครูวิชาเอกชีววิทยา. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 2(1), 24-44.

เอกภูมิ จันทรขันตี. (2559). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการโต้แย้งในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(1), 217-232.

Beak, H., Schwarz, C., Chen, J., Hokayem, H. and Zhan, L. (2011). Engaging elementary students in scientific modeling: The MoDeLS 5th grade approach and findings (pp. 195-220). In M. Khine and I. Saleh (Eds.), Dynamic modeling: Cognitive tool for scientific enquiry. London: Springer.

Bamberger, Y. M. and Davis, E. A. (2013). Middle-school science students’ scientific modelling performances across content areas and within a learning progression. International Journal of Science Education, 35(2), 213-238.

Davis, E. A., Kenyon, L., Hug, B., Nelson, M., Beyer, C., Schwarz, C., and Reiser, B. J. (2008). MoDeLS: Designing supports for teachers using scientific modeling. In Proceeding of the Association for Science Teacher Education. 10 January 2008. St. Louis, MO: The Association for Science Teacher Education.

Gilbert, J. K. (2004). Models and Modelling: Routes to more authentic science education. International Journal of Science and Mathematics Education, 2(2), 115-130.

Harrison, A. G. (1996). Conceptual change in secondary chemistry: The role of multiple analogical models of atoms and molecules. Unpublished Doctoral Dissertation, Curtin University of Technology, Perth, Western Australia.

Hrepic, Z. (2004). Development of a real-time assessment of students’ mental models of sound propagation. Unpublished Doctoral Dissertation, Kansas State University, Manhattan, Kansas, United States.

Schwarz, C. V., Reiser, B. J., Davis, E. A., Kenyon, L., Acher, A., Fortus, D. and Krajcik, J. S. (2009). Developing a learning progression for scientific modeling: Making scientific modeling accessible and meaningful for learners. Journal of Research in Science Teaching, 46(6), 632-654.