ผลสัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สมบัติและปฏิกิริยาของสารอินทรีย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากการเรียนรู้แบบสืบเสาะผสมผสานกับการใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

ฉัตรชฎา ติงสะ
อารีรัตน์ ใจกล้า
สุภาพ ตาเมือง
ศักดิ์ศรี สุภาษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมบัติและปฏิกิริยาของสารอินทรีย์โดยจัดการเรียนรู้ จากการเรียนด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นผสมผสานกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานในขั้นขยายความรู้ รวม 14 ชั่วโมง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 38 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือในการเก็บรวบข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเรียน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียน (mean 19 และ SD 2.91) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 8.32 และ SD 1.09) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก โดยมีความสามารถในการแก้ปัญหาดีขึ้นสำหรับทั้งสี่สถานการณ์เป็น 2.31 2.33 2.58 และ 2.82 ตามลำดับ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

กรมาศ สงวนไทร. (2553). การพัฒนาหลักสูตรด้วยแนวคิดใหม่สำหรับ PBL. จุลสาร PBL วลัยลักษณ์, 3(3), 8.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์. (2558). สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2561, จากเว็บไซต์กลุ่มบริหารวิชาการ โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์: https://sites.google.com/site/vichakantest/home

นนทกร อรุณพฤกษากุล อัจฉริยา รังษิรุจิ สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ และสุฑามาศ นิยมพานิช. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 (หน้า 361–370). กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

น้องนาง ปรืองาม และน้อยทิพย์ ลิ้มยิ่งเจริญ. (2554). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมี เรื่อง กรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 12-20.

นิรมล รอดไพ และภาคิน อินทร์ชิดจุ้ย. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น โดยใช้เทคนิคการแข่งขันระหว่างกลุ่มที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเคมี และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5(ฉบับพิเศษ), 59-170.

บุญนำ อินทนนท์. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโยธินบำรุง ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง. (2551). การจัดการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแนวคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 31(1), 27-35.

ปิยมาศ อาจหาญ. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้. วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุ่งทิพย์ ศศิธร ศักดิ์ศรี สุภาษร และชาญ อินทร์แต้ม. (2554). การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับชุดการเรียนรู้แบบ 5E. ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 23 (หน้า 722-728). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2544). การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการปฏิรูปการศึกษา (สปศ).

สุธี ผลดี และศักดิ์ศรี สุภาษร. (2554). การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง กรด-เบส ด้วยชุดการเรียนรู้แบบสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 45-66.

สุภามาส เทียนทอง. (2553). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมร เรืองไพศาล ประวิต เอราวรรณ และมนูญ ศิวารมย์. (2553). การประยุกต์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้กับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 319-330.

อัญชลี ชยานุวัชร. (2551). ทำไมต้อง PBL. จุลสาร PBL วลัยลักษณ์, 1(1), หน้า 3-5.

Dickinson, L. (1978). Self instruction in language learning. Great Britain: Cambridge University Press.

Orgill, M. and Bodner, G. (2004). What research tells us about using analogies to teaching chemistry. Chemistry Education Research and Practice, 5(1), 15-32.

Supasorn, S. Kamsai, L. and Promarak, V. (2014). Enhancement of learning achievement of organic chemistry using inquiry-based Semi-Small Scale Experiments (SSSEs). Procedia - Social and Behavioral Sciences, 116, 769-774.

Supasorn, S. and Promarak, V. (2015). Implementation of 5E inquiry incorporated with analogy learning approach to enhance conceptual understanding of chemical reaction rate for grade 11 students. Chemistry Education Research and Practice, 16(1), 121-132.