ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีในห้องเรียนเคมีโดยใช้ สถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ของ PhET
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีมีความสำคัญกับครูเคมีมืออาชีพ โดยครูเคมีควรมีความสามารถในการบูรณาการความรู้ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านเนื้อหา ความรู้ด้านการสอน และความรู้ด้านเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม วิชาเคมีนั้นมีลักษณะจำเพาะเนื่องจากเนื้อหาเป็นนามธรรม และการได้มาซึ่งความรู้ทางเคมีประกอบด้วยการจัดจำแนก ปฏิบัติการทางเคมีรวมถึงการคิดทางเคมี ในวิชาเคมีจะศึกษาสสารและการเปลี่ยนแปลงของสสารในทางทฤษฏีและปฏิบัติการ รวมถึงการทำความเข้าใจในระดับอนุภาคด้วย ดังนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจในวิชาเคมีอย่างลุ่มลึก นอกจากความเข้าใจในเนื้อหาแล้วควรนำการอธิบายปรากฏการณ์ 3 ระดับมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้โดยเลือกวิธีการสอนและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ที่เหมาะสม บทความนี้นำเสนอความรู้ในเนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีในห้องเรียนเคมีที่เน้นการอธิบายปรากฏการณ์ 3 ระดับ และยกตัวอย่างการจัดการเรียนรู้ในวิชาเคมีที่ใช้กรอบแนวคิดความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยีโดยใช้สถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ของ PhET
Article Details
วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร
แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้
1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component > Article Text
2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component > Other
ดาวน์โหลด ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
References
ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2558). กลยุทธ์การสอนเคมีอย่างมืออาชีพ. กรุงเทพ: บริษัท วิสต้า อินเตอร์ปริ๊นท์ จำกัด.
นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์. (2555). ความรู้ในการสอนจำเพาะเนื้อหาโดยใช้เทคโนโลยีในวิชาชีพครูศึกษา. วารสารสภาคณบดี คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย, 4(2), 20-37.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพ: บริษัทตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.
Koehler, M. J., Mishra, P., Kereluik, K., Shin, T. S. and Graham, C. R. (2014). The technological pedagogical content knowledge framework. In J. M. Spector et al. (Eds.), Handbook of Research on Educational Communications and Technology (pp. 101-111). New York: Springer.
Treagust, D., Chittleborough, G. and Mamiala, T. (2003). The role of submicroscopic and symbolic representations in chemical explanations. International Journal of Science Education, 25(11), 1353-1368.
University of Colorado Boulder. PhET: Interactive Simulations for Science and Math. Retrieved 2 February 2018, from PhET Interactive Simulations: https://phet.colorado.edu/