การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

กาลทิวา สูญราช
วรรณพล พิมพะสาลี

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้นักเรียนจำเนื้อหา จำวิธีทำตามตัวอย่างนั้น ทำให้นักเรียนไม่ประสบผลสำเร็จในการแก้โจทย์ปัญหาเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ได้ส่งเสริมขั้นตอนการคิดของนักเรียน วิธีการหนึ่งที่รู้จักกันแพร่หลายที่ช่วยฝึกนักเรียนแก้โจทย์ปัญหา โดยเน้นขั้นตอนการคิดของนักเรียน คือ การฝึกให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้จากการใช้แบบฝึกทักษะแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดสว่างคงคา อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 15 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เรื่อง การแยกตัวประกอบของ    พหุนาม จำนวน 8 แผน และแบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ 83.65 (gif.latex?\overline{X} = 16.73, S.D. = 1.39) และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนภายหลังจากใช้แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เรื่อง การแยกตัวประกอบพหุนาม สูงกว่าก่อนเรียนต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

กนกวรรณ ประกอบศรี และธนพล ตีรชาติ. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หาร โดยใช้แบบฝึกทักษะเทคนิคการแก้ปัญหาของโพลยาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 (หน้า 611-620). วันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2561. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

กีรกานต์ คำขาว วีระศักดิ์ ชมภูคำ และพิชญ์สินี ชมภูคำ. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวน- การแก้ปัญหาของโพลยาและผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(2), 73-89.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ขนิษฐา หาญสมบัติ. (2558). ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 (หน้า 219-227). วันที่ 18-19 มิถุนายน 2558. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

ทิชากร ทองระยับ ธนิน กระแสร์ และวันทนีย์ นามสวัสดิ์. (2558). ผลการใช้แบบฝึกทักษะเรื่องความน่าจะเป็น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7(2), 15-38.

ธิดารัตน์ โคตรมณี และศิริพร ศรีจันทะ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหมากแข้งโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มช่วยเหลือเป็นรายบุคคล (TAI) เสริมด้วยกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ ราชภัฏเลยวิชาการ ประจำปี 2561 “การบูรณาการภูมิปัญญาสู่นวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (หน้า 1754-1761). วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

วรางคณา สำอางค์ พรชัย ทองเจือ และผ่องลักษม์ จิตต์การุญ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 52-61.

ศิลากาญจน์ รุ่งเรือง วีระศักดิ์ ชมภูคำ และพิชญ์สินี ชมภูคำ. (2559). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และทักษะการทำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตวิจัย, 7(2), 107-121.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2561, จาก เว็บไซต์สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน): https://www.newonetresult.niets.or.th/ AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM3_2560.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Olaniyan, A. O. Omosewo, E. O. and Nwankwo, L. I. (2015). Effect of Polya problem-solving model on senior secondary school students’ performance in current electricity. European Journal of Science and Mathematics Education, 3(1), 97-104.

Polya, G. (1957). How to solve It: A new aspect of mathematical method (2 ed.). New York: Doubleday and Company.