การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วนและร้อยละ โดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

Main Article Content

ปฏิมาพร ประจวบสุข
ชนกกานต์ สหัสทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วนและร้อยละ โดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา และหาหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และหาประสิทธิผลของแบบฝึกนี้ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ (3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้นี้ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วนและร้อยละ โดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา จำนวน 12 แผน 12 ชั่วโมง (2) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วนและร้อยละ แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ แบ่งเป็น 5 ชุด (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการแก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วนและร้อยละ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนการแก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วนและร้อยละ จำนวน 15 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบฝึกทักษะเรื่องการแก้โจทย์ปัญหาอัตราส่วนและร้อยละโดยใช้แบบฝึกทักษะขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 78.46/87.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.75 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาลทิวา สูญราช และวรรณพล พิมพะสาลี. (2561). การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 1(2), 206-215.

ชัยศักดิ์ ลีลาจรัสกุล. (2542). ชุดกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาการจัดค่ายคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ฐิติยา อินทุยศ. (2547). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเมืองใหม่ชะลอราษฎร์รังสฤษฎ์ โดยใช้แผนการเรียนรู้การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

เผชิญ กิจระการ. (2544).การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา E1/E2. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 5(11), 44-51.

ไพรัช ศีลาเจริญ. (2550). การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้ เรื่องโจทย์ปัญหากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้วิธีสอนตามขั้นตอนการสอนของโพลยากับวิธีสอนตามคู่มือการจัดการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ยุพิน พิพิธกุล . 2524. การเรียนการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท บพิธการพิมพ์จํากัด.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วันวิษา อังคะนา. (2553). การพัฒนากิจกรรมการแก้โจทย์ปัญหาตามขั้นตอนของโพลยา โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วัลลภ จันทร์ตระกูล. (2546). ลักษณะของเอกสารประกอบการสอนที่ดี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

อนุรักษ์ สุวรรณสนธิ์. (2550). ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยเน้นขั้นตอนการแก้ปัญหาของ Polya ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อารีย์ คำปล้อง . (2536). การสอนแบบปฏิบัติการเรื่องคุณสมบัติเกี่ยวกับวงกลมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารมณ์ จันทร์ลาม. (2550). ผลของการสอนแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Larey, D. R. (1978). Effect of feedback on individuality. Dissertation Abstract International, 36(online), 817-A.

Lester, F. K. (1997). Ideas about problem solving: A look at some psychological research. Arithmetic Teacher, 25(2), 12-14.

Maslow, A. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.

Polya, G. (1957). How to Solve It: A New Aspect of Mathematical Method (2nd ed). New York: Doubleday and company.