ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่องรถแข่งโภชนาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ทักษิณา พิทักษา
ปฏิภาณ พิทักษา
น้้าฝน รุ่งโรจน์
สนธิ พลชัยยา
กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการออกแบบเชิงวิศวกรรมเรื่องรถแข่งโภชนาการของนักเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนอนุบาลพิบูลมังสาหาร  อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาและแบบบันทึกกิจกรรมสะเต็ม ผลการออกแบบเชิงวิศวกรรมรถโภชนาการของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา รายการที่ประเมินจำนวน 6 รายการ ได้แก่ 1) การระบุปัญหาและเงื่อนไขจากสถานการณ์ที่กำหนดให้  2) การค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้องต้นทุนที่ใช้ประดิษฐ์ 3) การออกแบบ วางแผนและการสร้างรถแข่งโภชนาการ 4) วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา 5) ทดสอบ ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน และ 6) การนำเสนอ  ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมผลการออกแบบเชิงวิศวกรรมรถโภชนาการอยู่ในระดับดีมาก คะแนนเฉลี่ย 84.09 โดยการวางแผนและดำเนินการแก้ปัญหาสร้างรถแข่งโภชนาการได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 100.00 เพราะนักเรียนทุกกลุ่มร่างต้นแบบรถแข่งโภชนาการ ประดิษฐ์รถแข่งโภชนาการตามต้นแบบและเสนอแนะวิธีพัฒนาต้นแบบรถแข่งโภชนาการให้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 334-348.

ฐิติยา เนตรวงษ์. (2559). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 15(2), 1-6.

นารินทร์ ศิริเวช. (2560). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดแก้ปัญหา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏ.

รักษ์ศิริ จิตอารี วิจิตร อุดอ้าย และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้และการจัดการเรียนรู้ STEM EDUCATION เพื่อเสริมสร้างการรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 202-213.

วิจารณ์ พานิช. (255). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

อาทิตย์ ฉิมกุล. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1-17.