ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ในการเรียนวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

มนัสดา ลูกอินทร์
อมรา เขียวรักษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 75.00/75.00 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแรงบันดาลใจในการเรียนวิชาฟิสิกส์ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/8 จำนวน 45 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดแรงบันดาลใจในการเรียนวิชาฟิสิกส์ การวิจัยเป็นแบบการทดลองเบื้องต้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบตัวอย่างไม่อิสระต่อกันเพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดแรงบันดาลใจ ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 76.07/76.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 75.00/75.00 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง โมเมนตัมและการชน หลังเรียน (mean 23.05, S.D. 1.34) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 15, S.D. 2.53) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีแรงบันดาลใจทางการเรียนวิชาฟิสิกส์หลังเรียน (mean 4.34, S.D. 0.69) สูงกว่าก่อนเรียน (mean 2.78, S.D.  0.58) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

Boonthos, P. Singseewo, A and Appamaraka, S. (2015). The development of learning activities

about ecosystem using the inspiration technique for Mattayomsuksa 3 students (in Thai). Journal of Education, Mahasarakham University, 9(4), 107-125.

Chitgosol, K. (2016). Enhancing achievement motive in information and communication technology of Grade 11 students at Kalasinpittayasan School by cooperative learning with social network (in Thai). Master's Thesis. Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University.

Jaichankit, P. (2005). The Power of inspiration communication for the power of inspiration

of leaders (in Thai). Retrieved 26 December 2017, from DrPhot.com: http://www.drphot.com/images/journal/2553/ceo_tips/Article_inspiration_communicate20%20Jan%202010.pdf

Kaemmanee, T. (2011). Teaching science (in Thai). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Ministry of Education. (2011). Learning across the world (in Thai). Office of the Ministry of Education.

Office of High School Administration. (2015). School operation guidelines international standards (in Thai). Bangkok: Office of High School Administration, Office of the Basic Education Commission.

Phromwong, C. (2002). Innovation and technology (in Thai). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Poondej, C. (2019). Inspiring student learning by a peer teaching strategy (in Thai). In Proceedings of the 14th Conference of Professional and Organizational Development Network of Thailand Higher Education (ThaiPod) (pp 50-56). Bangkok: ThaiPod.

Sisaat, B. (2002). Statistical methods for research. (in Thai). Bangkok: Suwiriyasarn.

Traimongkolkun, P and Chataporn, S (2000). Research design, 3rd ed (in Thai). Bangkok: Kasetsart University.

Wipawin, N. (2013). Documentation for the lecture on inspiration for habit of reading (in Thai). Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.

Yohlao, D. Langga, W. Pimtong, S. and Pungposop, N. (2013). The evaluation of watching movies for enhancing inspiration of undergraduate students at Srinakharinwirot University (in Thai). Retrieved 26 December 2017, from Institutional Repository, Srinakharinwirot University: http://ir.swu.ac.th/xmlui/handle/123456789/4996?show=full