การสร้างอินดิเคเตอร์แบบกระดาษอย่างง่ายเพื่อใช้ในการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส

Main Article Content

มยุรฉัตร ชาวเลย
เสนอ ชัยรัมย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างอินดิเคเตอร์แบบกระดาษอย่างง่ายในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในวิชาเคมี กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 คน ซึ่งกำลังเรียนหัวข้อ กรด-เบส รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวโดยใช้การทดสอบก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยการลงมือทำสร้างอินดิเคเตอร์แบบกระดาษอย่างง่าย แบบทดสอบวัดความเข้าใจทางการเรียนเรื่องกรด-เบสและแบบสอบถามความพึงพอใจ ตามลำดับ ผลการการทดสอบค่าทีที่ระดับ .05 พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างก่อนเรียน (ค่าเฉลี่ย = 3.57, ส่วนเบี่ยงเบน = 2.24) และหลังเรียน (ค่าเฉลี่ย = 7.73, ส่วนเบี่ยงเบน = 3.74) ซึ่งบ่งชี้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการลงมือทำชุดทดสอบอินดิเคเตอร์แบบกระดาษจากสารสกัดของพืชช่วยส่งเสริมความเข้าใจความเข้าใจของนักเรียน เรื่อง กรด-เบส ในวิชาเคมีได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ นักเรียนส่วนใหญ่ยังมีความพึงพอใจการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

Faikhamta, C. (2008). Learning implementation based on Inquiry process (in Thai). Journal of Education Naresuan University, 11(1), 36-38.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2019). Chemistry No. 4 (in Thai). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Nakasenee, J., Pimthong, P. and Pornsilapatip, P. (2015). The study of grade 11th students’ acid–base conceptions (in Thai). Journal of Research on Science, Technology and Environment for Learning, 6(1), 70 - 83.

Pholdee, S. and Supasorn, S. (2011). Enhancement of learning achievement of acid-base by using science inquiry context-based (SICB) learning packages (in Thai). KKU Research Journal, 1(2), 45-66.

Phornphisutthimas, S. (2013). Learning management of science in 21st century (in Thai). Journal of Research on Science, Technology and Environment for Learning, 4(1), 55-63.

Sonpimai, C. (2007). The development of experimental activity on acid-base testing of chemicals in everyday life by using local indicators (in Thai). Master’s Independent Study. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University.

Supasorn, S. (2011). Science inquiry process in high school chemistry experiments: A review of science education research studies from Ubon Ratchathani University (in Thai). Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus, 22(3), 331-343.

Tipchai, A., Meewong, C., Wuttisela, K. and Supasorn, S. (2019). Grade-10 students’ conceptual understanding of covalent bonding and molecular shapes from inquiry learning by using physical models (in Thai). Journal of Science and Science Education, 2(1), 43-56.