การตรวจสอบการกลายพันธุ์ของโปรตีนหนามในสายพันธุ์น่ากังวลของเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่โดยวิธีการจำแนกโดยใช้ซัพพอร์ตเวกเตอร์บนระนาบของระบบพิกัดดีอาร์พี

Main Article Content

กบิล กาญจมาภรณ์กุล
ธัญญดา รุ่งโรจน์มงคล
สุพจน์ หารหนองบัว

บทคัดย่อ

การวัดเชิงปริมาณของสภาวะควอนตัมในจีโนไทป์ของกรดอะมิโนที่กลายพันธุ์ในโปรตีนหนามของสายพันธุ์น่ากังวลต่างๆของโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ถูกตรวจวัดโดยกระแสของเชอร์นไซม่อนส์ ในงานวิจัยนี้เราได้เสนอวิธีใหม่โดยใช้กระแสของเชอร์นไซม่อนส์ในตัวอักขระของรหัสพันธุกรรมในการวาดกราฟเพื่อใช้แสดงค่าความโค้งงอของการบิดตัวของโครงสร้างทุติยภูมิของโปรตีนหนามซึ่งวิธีนี้ตั้งอยู่บนทฤษฎีภาพสะท้อนของกระจกสมมาตรและเพิ่มคุณสมบัติพิเศษของความเชื่อหลักของชีววิทยาเข้าไป ในที่นี้สนามยังมิลส์ในรหัสพันธุกรรมคือสนามที่เกิดจากการเหนี่ยวนำโดยใช้ตัวดำเนินการเคอร์บนการขนส่งแบบขนานของพันธะไฮโดรเจนในชีวโมเลกุลทั้งสามแบบในระบบลากรานของบนระนาบดีอาร์พีในเทนเจ้นของแมนนิโฟวน์สี่มิติที่ถูกนิยามโดยพื้นผิวของสนามพฤติกรรมในการบิดตัวบนทอรัสที่ถูกสแปนด้วยเบซีสโดยเบสสี่ตัวคือเอ ที ซีและจี โดยวิธีนี้ผลของการวิเคราะห์ข้อมูลถูกแสดงผลในรูปแบบของฮิสโตรแกรมของค่าตัวแปรของสภาวะควอนตัมในจีโนไทป์ของการกลายพันธุ์ของโปรตีนหนามโดยใช้ข้อมูลจากรหัสพันธุกรรมระหว่าง 17 มกราคม 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2564 พบว่ากราฟเลื่อนตัวไปทางซ้าย การจำแนกกลุ่มและการทำนายผลของการกลายพันธุ์เพื่อใช้ตรวจสอบการกลายพันธุ์บนบริเวณรีเซ็พเตอร์โดเมนในโปรตีนหนามและทำนายผลในกรดอะมิโน 120 ตัวในบริเวณนี้ในสายพันธุ์น่ากังวลเก้าสายพันธุ์โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้อัลกอลิทึมของการเรียนรู้ของเครื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานการคำนวณแบบการจำแนกโดยใช้ซัพพอร์ตเวกเตอร์บนวิธีการฟิตค่าตัวแปรของสภาวะควอนตัมในจีโนไทป์ในสารพันธุกรรมให้ผลลัพธ์ของคำนวณหาค่าของตัวแปรสภาวะทางควอนตัมในจีโนไทป์ของกรดอะมิโนที่กลายพันธุ์ด้วยประสิทธิภาพที่ดี

Article Details

How to Cite
กาญจมาภรณ์กุล ก., รุ่งโรจน์มงคล ธ. ., & หารหนองบัว ส. (2022). การตรวจสอบการกลายพันธุ์ของโปรตีนหนามในสายพันธุ์น่ากังวลของเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่โดยวิธีการจำแนกโดยใช้ซัพพอร์ตเวกเตอร์บนระนาบของระบบพิกัดดีอาร์พี. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 5(1), 58–71. https://doi.org/10.14456/jsse.2022.6
บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์

References

Ali, S., Sahoo, B., Ullah, N., Zelikovskiy A. and Patterson, M. (2021). A k-mer based approach for SARS-CoV-2 variant identification. Bioinformatics Research and Applications. Lecture Notes in Computer Science, 13064, 153-16.

Andersen, K.G. Rambaut, A., Lipkin W. I., Holmes E.C. and Garry R. F. (2020). The proximal origin of SARS-CoV-2. Nature Medicine, 26(4), 450-452.

Anshel, Anshel, M. and Goldfeld, D. (1999). An algebraic method for public-key cryptography. Mathematical Research Letters, 6(3), 287-291.

Capozziello, S., Pincak, R., Kanjamapornkul, K. and Saridakis, E.N. (2018). Chern-Simons current in systems of DNA-RNA transcriptions. Annalen der Physik, 530(4), 1700271.

Capozziello, S., Pincak, R. and Kanjamapornkul, K. (2017). Anomaly on superspace of time series data. Zeitschrift fuer Naturforschung A, 72(12), 1077-1091.

Jones J. E. (1924). On the determination of molecular fields. -II. From the equation of state of a gas. Proceedings of the Royal Society A, 106(738), 463-477.

Kanjamapornkul, K., Rongrotmongkol, T. and Hannongbua, S. (2021). Frenet-Serret formulas for moving frame with (d,r,p)-layer in protein folding. Journal of Science and Science Education, 4(1), 38-50.

Kanjamapornkul, K. , Pincak R., Chunithpaisan, S. and Bartos, E. (2017). Support spinor machine. Digital Signal Processing, 70, 59-72.

Kanjamapornkul, K. and Pincak, R. (2016). Kolmogorov space in time series data. Mathematical Methods in the Applied Sciences, 39(15), 4463-4483.

Kumar, S., Thambiraja, TS., Karuppanan, K. and Subramaniam, G. (2021). Omicron and Delta variant of SARS-CoV-2: A comparative computational study of spike protein. Journal of Medical Virology, 94(4),1641-1649.

Li, F. (2016). Structure, Function, and Evolution of Coronavirus Spike Proteins. Annual Review of Virology, 3, 237-261.

Mlcochova, S., Kemp, S.A., Dhar, M.S.et al. (2021). SARS-CoV-2 B.1.6.17.2 Delta variant replication and immune evasion. Nature, 599, 114-119.

Pincak, R., Kanjamapornkul, K. and Bartos, E. (2020a). Cohomology theory for biological time series Mathematical Methods in the Applied Sciences, 43(2), 552-579.

Pincak, R., Kanjamapornkul, K. and Bartos, E. (2020b). A theoretical investigation on the predictability of genetic patterns. Chemical Physics, 535, 110764.

Pincak, R., Kanjamapornkul, K. and Bartos, E (2019). Forecasting Laurent Polynomial in the Chern-Simons Current of V3 Loop Time Series. Annalen der Physik, 531(7),1800375.

Sathipati, S.Y. Shukla, S.K. and Ho, S.Y. (2022). Tracking the amino acid changes of spike proteins across diverse host species of severe acute respiratory syndrome coronavirus 2. iScience, 25, 103560.

Schoeman, D. and Fielding, B.C. (2019). Coronavirus envelope protein: Current knowledge. Virology Journal, 16(1), 69.