การจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

นภัทร สีเขียว
น้ำเพชร นาสารีย์

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรก (Infusion) โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นกระบวนการเรียนรู้หนึ่งที่สามารถสอดแทรกเนื้อหาอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน สามารถนำมาใช้ได้ผลในวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้นักเรียนมีโอกาสได้สังเกต ทดลอง และสรุปผลเกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และปรับประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง ดังนั้น ในบทความนี้จึงได้นำเสนอตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ตามแนวทางของ Llewelly (2005) ได้แก่ 1) ขั้นสร้างความสนใจ 2) ขั้นการสำรวจและค้นหา 3) ขั้นการอธิบายและลงข้อสรุป 4) ขั้นการขยายผลความรู้ และ 5) ขั้นการประเมินผล ผ่านกิจกรรม “ไข่เยี่ยวม้าทองคำ” โดยใช้คำถามที่ว่า “ไข่เยี่ยวม้าที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาดมีสีดำและมีความเค็มแตกต่างกันออกไปหรือไม่ และความเค็มนั้นถูกลำเลียงเข้าไปในไข่ได้อย่างไร มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ไข่เค็มไม่เท่ากัน แล้วถ้าต้องการให้ไข่เยี่ยวม้ามีสีเหลืองทองสามารถทำได้อย่างไร ใช้หลักการใดบ้าง จงอธิบาย” จากรูปแบบของกิจกรรมเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสังเกต สืบค้น รวบรวมข้อมูล ทำงานร่วมกันเป็นทีม ปฏิบัติการทดลอง เพื่อให้นักเรียนสามารถอธิบายและเชื่อมโยงสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้แล้วนำเสนอผลจากการเรียนรู้อย่างมีเหตุผลจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และจากกิจกรรมการจัดการเรียนรู้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการแพร่ของสารมากขึ้นจากการได้ลงมือปฏิบัติและค้นพบคำตอบด้วยตนเอง นอกจากนี้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ยังทำให้นักเรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการสื่อสาร สารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ การทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับครูผู้สอนในการนำแนวทางการจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพัฒนานักเรียนต่อไป

Article Details

How to Cite
สีเขียว น., & นาสารีย์ น. (2022). การจัดการเรียนรู้บูรณาการสอดแทรกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 5(2), 322–331. https://doi.org/10.14456/jsse.2022.34
บท
บทความวิชาการทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

BSCS. (2006). The BSCS 5E Instructional Model: Origins and Effectiveness. Retrieved 15 February 2022, from https://media.bscs.org/bscsmw/5es/bscs_5e_full_report.pdf.

Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (2008). Manual for Learning standard and indicators of occupations and technology according to the basic education core curriculum, B.E. 2551 (A.D. 2008) (in Thai). Retrieved 13 December 2021, from: https://drive.google.com/file/d/0B9t56k6dmUe5em9mOEFXaU5vRjg/view?resourcekey=0-8UYYTngHO6XEYwKLSYa5tQ.

Chanamee, C. (2014). The multi-level analysis of factors related to scientific mind of senior high school students under the secondary educational service area office, area 36 (in Thai). Master’s Thesis. Chiangmai: Chiangmai University.

Chinnawong, W. (2001). Integrated teaching and learning management (in Thai). Academic Journal, 4(10), 27-33.

Dechakhup, P. (2014). Learning management in 21th century. Bangkok: Chulalongkorn University Printery.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2017). Manual for basic science subject (revised edition 2017) according to the basic education core curriculum, B.E. 2551 (A.D.2008) for junior high school student (in Thai). Retrieved 13 December 2021, from SciMath: https://www.scimath. org/ebook-science/item/8923-2018-10-01-01-59-16.

Llewelly, D. (2005). Teaching high school science trough inquiry. California: Wadsworth.

Noiwong, W. (2021). Learning activity in topic of super absorbent polymers for senior high school students of bilingual program (in Thai). Journal of Science & Science Education, 4(1), 118-129.

Noppakornsettakul S. (2018). 21st Century teaching skills of teachers in secondary school at Rayong Province under the Secondary Educational Service Area Office 18 (in Thai). Master’s thesis. Chonburi: Burapha University.

Office of the Education Council. (2017). National Education Plan 2017–2036 (in Thai). Bangkok: Prickwan Graphic.

Panich, V. (2012). Learning development pathway of student in 21st century (in Thai). Bangkok: Sodsri Saritwong Foundation.

Polnak, P., Chauvatcharin, N., and Sirisawat, C. (2020). The study of ability in analytical thinking, biology learning achievement and attitudes toward biology of 11th grade students using the inquiry cycle (5E) instructional model with storyline (in Thai). Journal of Education Naresuan University, 22(4), 160-170.

Sirum, U., Chaiso, P., Ekwarangkul, P., and Ugsonkid, S. (2020). Strategies of assessment for learning for learners in the 21st century (in Thai). Sripatum Review of Humanities and Social Sciences, 20(1), 193-206.

Sopa, P. (2018). The development of critical thinking through inquiry cycles (5es) and games entitled human and animal body systems, in learning area of science for matthayomsuksa 2 (in Thai). Master’s Thesis. Sakon Nakorn: Sakon Nakorn Rajabhat University.

Sujarit, C., Sawain, A., Rittirut, W. and Kapun, K. (2014). The Production of Chinese Preserved Egg using Lime from Enamel Venus Shell (in Thai). Proceeding of International Conference on Sustainable Community Development, 396-401.

Suthasinobon, A. (2002). Integration learning. Academic Journal. 5 (12): 20-26.

Tachoochat, M and Biasiri, S. (2020). The result of interdisciplinary integrated learning management on nature and environment topic for grade 1 students (in Thai). Proceeding of NEU National Conference, 243 – 251.

Taweeboot, C. (2017). Development of critical thinking ability using inquiry method and graphic organizers entitled “photosynthesis” for mathayomsuksa 5 students. (in Thai). Master’s Thesis. Sakon Nakorn: Sakon Nakorn Rajabhat University.

Tingsa, C., Jaigla, A., Tamuang, S. and Supasorn, S. (2018). Twelfth Grade students’ achievement and problemsolving ability on properties and reactions of organic compounds from learning by using inquiry incorporated with problem-based learning (in Thai). Journal of Science and Science Education, 1(1), 97-108.

Udom, P. (2005). Integrated Instruction (in Thai). Journal of Thaksin, 8(2), 66-75.

Umudee, N. (2016). Effect of integration of islamic and science learning on science achievement, science process skills and instructional satisfaction of grade 9 Students (in Thai). Master’s thesis. Songkhla: Songkhla University.

Vanmontree, B. (2016). Evaluation of internal change of century egg under hydrostatic conditions (in Thai). Master’s Thesis. Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology.

Wongsriphuak, V. (2020). The development of group working skills for grade IV students in the learning unit of “good citizen duty actions” through Inquiry- based learning with cooperative learning (in Thai). Kasetsart Educational Review, 35(2), 181-191.