ผลของวัสดุปอซโซลานเถ้าแกลบต่อสมบัติของอิฐมวลเบา

Main Article Content

ทัศริยา กลิ่นขจร
สิรินญา กุลวงค์
จิดาภา ปัททุม
สิทธิชัย ใจขาน
สมเจตน์ ทองดำรงธรรม
ถนัดกิจ ชารีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เถ้าแกลบเป็นวัสดุเสริมกำลังในการผลิตอิฐมวลเบาขนาดความกว้าง 20 ซม. ความยาว 60 ซม. และความหนา 7.5 ซม. (ขนาดอิฐมวลเบาตามมาตรฐานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) การผลิตอิฐมวลเบาที่ไม่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำ ประเภทที่ 1 ใช้วัสดุเบาร่วมในกระบวนการผลิต ได้แก่ ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทรายละเอียด ผงอะลูมิเนียม ปูนขาว ยิปซั่ม และวัสดุเสริมกำลัง (แกลบบดละเอียด เผาที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส สำหรับแทนที่ทราย จำนวน 3 สูตร ได้แก่ ร้อยละ 5, 10 และ 15 โดยน้ำหนัก) การบ่มอิฐใช้วิธีการขังน้ำเป็นระยะเวลา 7 วัน การทดสอบสมบัติของอิฐมวลเบา ได้แก่ ความต้านแรงอัด อัตราการดูดซึมน้ำ และความหนาแน่น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า อิฐมวลเบาที่ผลิตขึ้นทั้งหมดมีความต้านแรงอัดระหว่าง 7.38 ± 0.42 ถึง 12.68 ± 1.27  เมกะพาสคัล ตัวอย่างที่ใช้เถ้าแกลบร้อยละ 10 ให้ค่าความต้านแรงอัดเฉลี่ย (12.68±1.27 เมกะพาสคัล) ใกล้เคียงกับชุดควบคุม (13.28 ± 0.42 เมกะพาสคัล) อัตราการดูดซึมน้ำ 15.4 ± 1.48 % ความหนาแน่น 1.47 ± 0.01 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร และมีต้นทุนการผลิตด้านวัสดุประมาณ 16.47 บาท (137.2 บาทต่อตารางเมตร) ดังนั้น เถ้าแกลบสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นด้วยการเป็นวัตถุดิบผลิตอิฐมวลเบา และสัดส่วนของเถ้าแกลบ ร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก สามารถใช้ในการผลิตอิฐก่อผนังหรือกั้นห้องภายในอาคารที่ไม่ใช่ส่วนที่ต้องรับน้ำหนักโครงสร้างอาคารได้

Article Details

How to Cite
กลิ่นขจร ท. ., กุลวงค์ ส. ., ปัททุม จ. ., ใจขาน ส. ., ทองดำรงธรรม ส. ., & ชารีรัตน์ ถ. (2022). ผลของวัสดุปอซโซลานเถ้าแกลบต่อสมบัติของอิฐมวลเบา. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 5(2), 182–190. https://doi.org/10.14456/jsse.2022.21 (Original work published 8 มิถุนายน 2022)
บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์

References

Chaichana, V. (2019). Production of light brick using rice husk ash as an ingredient (in Thai). Research Report. Bangkok: Rajabhat Maha Sarakham University.

Chindaprasirt, P. and Jaturapitakkul, C. (2013). Cement Pozzolan and Concrete, 7thedition (in Thai). Bangkok: thailand concrete association.

Chindaprasirt, P., Songpiriyakij, S., Rattanasak, U. and Pruksanukul, S. (2020). Dimensional stability of Lightweight Concrete (in Thai). Research Report. Bangkok: Thailand Science Research and Innovation.

Dolah, N. (2009). Light materials used in construction Industry (in Thai). Princess of Naradhiwas University Journal, 1(3), 48-62.

Faculty of Engineering Civil Engineering University of Phayao. (2016). Determination of size, density, moisture and water absorption of bricks (in Thai). Retrieved 8 February 2022, from Faculty of Engineering Civil Engineering University of Phayao http://engineeringmaterialsproject.blogspot.com/2015/12/1.html

Ministry of Industry. (1998). Thai industrial standard (Tis no. 1505-2541) Autoclaved aerated lightweight concrete elements (in Thai). Retrieved 30 November 2021, from Ministry of Industry: http://www.fio.co.th/web/tisi_fio/fulltext/TIS1505-2541.pdf

Muangtong, P., Kongpun, T. and Nekhamanurak, B. (2014). Influence of Pozzolan Materials, Agricultural Waste, on Mechanical Properties of Soil-Cement Brick (in Thai). Research report. Bangkok: Rajamangala University of Technology Rattanakosin.

Office of the Basic Education Commission. (2021). Accounting of construction materials and labor costs for the year 2022 (in Thai). Retrieved 28 March 2022, from Office of the Basic Education Commission. https://rnedu.go.th/2019/wp-content/uploads/2021/11

Onprom, P. (2021). Influence of Glass Cullet as Partial Replacement of Fine Aggregate on Concrete Block Properties (in Thai). Vocational Education Innovation and Research Journal, 5(1), 32-39.

Panel hoszigeteles Co., Ltd. (2017). Properties of heat-insulating bricks or lightweight bricks (in Thai). Retrieved 8 February 2022, from Panel Hoszigeteles: https://www.panelhoszigeteles.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C/page/3

Sata, V., Tangpagasirt, J., Jaturapitakkul, C. and Chindaprasirt, P. (2012). Effect of W/B ratios on pozzolanic reaction of biomass ashes in Portland. Cement & Concrete Composites, 34(1), 94-100.

Sinsiri, T. (2014). High strength cellular aerated concrete (in Thai). Research report. Bangkok: Science and Technology Infrastructure Databank (STDB).

Sirisurawong, E. (2015). Development of the cement replacement material from water treatment sludge and rice husk ash (in Thai). Master’s Thesis. Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology.

Senaart, N. and Nonthawee, P. (2019). Production of worm bricks from water supply sludge, Ubon Ratchathani University (in Thai). Research report. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University.

The securities and exchange commission. (2013). Smart concrete public company limited (in Thai). Retrieved 28 April 2022, from The Securities and Exchange Commission: http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/69/2013/132800110401012013-04-