การศึกษาการใช้ขี้เลื่อยกฤษณาต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดนางฟ้าภูฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การทดลองนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ขี้เลื่อยกฤษณาเป็นวัสดุทดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพารา ในการเพาะเห็ดนางฟ้า
ภูฐาน โดยการเปรียบเทียบวัสดุเพาะที่แตกต่างกัน 2 สูตร ทำการเปรียบเทียบผลการเดินของเส้นใย จำนวนวันในการเกิดตุ่มดอก จำนวนเฉลี่ยดอกเห็ด เส้นผ่านศูนย์กลางดอกเห็ด ความกว้างและความยาวก้านดอกเห็ด และประสิทธิภาพการผลิตเห็ดจากค่า Biological Efficiency (%BE) หลังจากทดสอบผลที่ได้ทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ p < 0.05 พบว่า จำนวนดอกเห็ดมากที่สุดคือวัสดุเพาะจากขี้เลื่อยกฤษณามีจำนวนเฉลี่ย 9.70 ดอกต่อก้อน เส้นผ่านศูนย์กลางดอกเห็ดกว้างที่สุดคือวัสดุเพาะจากขี้เลื่อยกฤษณามีความกว้างเฉลี่ย 5.37 เซนติเมตร น้ำหนักสดดอกเห็ดมากที่สุดคือวัสดุเพาะจากขี้เลื่อยกฤษณามีน้ำหนักเฉลี่ย 86.41 กรัมต่อก้อน ขี้เลื่อยกฤษณาจึงสามารถนำมาทดแทนขี้เลื่อยยางพาราในการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐานได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร
แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้
1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component > Article Text
2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component > Other
ดาวน์โหลด ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
References
Bakare, K. M., Oluduro, O. A., Omoboye, O. O., Leramo, J. A. and Adebayo, A. I. (2014). Effects of different substrates on the morphological characteristics and proximate content of Pleurotus pulminarius. Food Science and Quality Management. 32, 46-56.
Girmay, Z., Gorems, W., Birhanu, G. and Zewdie, S. (2016). Growth and yield performance of Pleurotus ostreatus (Jacq. Fr.) Kumm (oyster mushroom) on different substrates. AMB Expr.1-7.
Jeznabadi, E. K., Jafarpour, M. and S. Eghbalsaied. (2016). King oyster mushroom production using various sources of agricultural waste in Iran. Journal Recycle Organic Waste Agriculture. 5: 17-24.
Khalil, A. S., Rahim, A. A., Taha, K. K. and Abdallah, K. B. (2013). Characterization of Methanolic Extracts of Agarwood Leaves. Journal of Applied and Industrial Sciences. 1(3), 78-88.
Koprakhon, C. (2016). The study of investment the Sajor-Caju mushroom (in Thai). Doctor of Philosophy’s Thesis. Chonburi: Burapha University.
Laead-on, K. (2021). Utilization of Rice Straw for Mushroom Cultivated and Supplemented Materials on Growth and Yield of Grey Oyster Mushroom in Cylinder Plastic (in Thai). Journal of research and development. 14(1), 32-41.
Office of the Royal Development Projects Board. (2012). The handbook of economic mushroom and local mushroom cultivation (in Thai). Bangkok: Mind create advertising company limited press.
Phasinam, K., Wongphansuea, S., Seedaeng, P., Kassanuk, T., Sreera-or, C. and Nualsri, Ch. (2020). A Study of Optimal Proportion on the Growth of Mycelium Pleurotus sajor-caju by Using Rain Tree Sawdust, Para Rubber Sawdust and Rice Straw as Materia (in Thai). Agricultural Science journal. 51(1) (Suppl.), 163-167.
Tesfaw, A., Tadess, A. and Kiros, G. (2015). Optimum of Oyster mushroom (Pleurotus ostreatus) Cultivation Using Locally Available Substrates and Material in Debre Berhan, Ethiopia. Journal of Applied Biology and Biotechnology. 3(1): 15-20.
Toros, G., EI-Ramady, H. and Prokisch, J. (2022). Edible Mushroom of Pleurotus spp.: A Case Study of Oyster
Mushroom (Pleurotus ostreatus L.). Environment, Biodiversity & Soil Security, (6), 51-59.