ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ธนพล นามลัย
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
มนชยา เจียงประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแผนพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน และใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สูตร t – test for one sample ผลการวิจัย พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน เฉลี่ยแล้วสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เฉลี่ยแล้วสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
นามลัย ธ., วิริยะพงษ์ น. ., & เจียงประดิษฐ์ ม. . (2022). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับ เทคนิค KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 6(1), 120–134. https://doi.org/10.14456/jsse.2023.11
บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

Boonprajak, S. (1997). Development of Matheatical Power Power of Mathayomsuksa 1 students throguh Cooperative Learning (in Thai). Ph.D. Thesis. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Chadwiwattanagan, P. (2020). A study of mathematical problem solving ability and learning achievement through Student Team – Achievement Division (STAD) with KWDL technique of Mathayomsuksa 3 students (in Thai). Master’s Thesis. Chonburi: Burapha University.

Kamhongsa, S. (2013). Comparison of learning achievement in linear equation of Mathayomsuksa 1 students between STAD cooperative learning and normal learning (in Thai). Master’s Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Ponsen, P. (2013). Comparison of learning achievement, reasoning on probability and attitude towards mathematics between the KWDL Learning Activities and the TAI learning activities for Mathayomsuksa 5 students (in Thai). Master’s Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Prathumchat, N. (2017). Development of mathematics learning activities by using the cooperative learning STAD Technique and KWDL technique on a topic of fraction and applications for Prathomsuksa 5 students (in Thai). Master’s Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Ra-Ngubtook, W. (1999). Teaching and Learning that Focuses on Student-Centered Learning (in Thai). Bangkok: Ton – or.

Sittisomboon, M. (2008). Local Curriculum Development, 1st print (in Thai). Phitsanulok: Faculty of Education. Naresuan University.

Sutthirat, C. (2009). 80 Innovations in Learning Management with a Student-Centered Focus (in Thai). Bangkok: Danek Inter Corporation Co., Ltd.

The Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008) (in Thai). Bangkok: The Ministry of Education.

Wilson, J. W. (1971). Evaluation of learning in secondary school mathematics. Handbook on formative and summative evaluation of student learning.