ความหลากชนิดของเห็ดในพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสำรวจความหลากชนิดของเห็ดในพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึง 2565 พบเห็ดจำนวน 45 ชนิด จำแนกได้เป็น 2 ไฟลัม คือ ไฟลัมเบสิดิโอมายโคตา (Phylum Basidiomycota) จำนวน 39 ชนิด ซึ่งในไฟลัมนี้จำแนกต่อได้เป็น 6 อันดับ (Order) 15 วงศ์ (Family) ได้แก่ อันดับ Agaricales Auricularieales Boletales Cantharellales Polyporales และ Russulales วงศ์ Agaricaceae Amanitaceae Auriculariaceae Boletaceae Cantharellaceae Coprinaceae Clavulinaceae Entolomataceae Ganodermataceae Marasmiaceae Nidulariaceae Polypolaceae Russulaceae Sclerodermataceae และ Tricholomataceae ส่วนเห็ดอีก 6 ชนิดอยู่ในไฟลัมแอสโคมายโคตา (Phylum Ascomycota) ซึ่งพบจำนวน 1 อันดับ 1 วงศ์ คือ อันดับ Xylariales วงศ์ Xylariaceae นอกจากนี้ ยังมีเห็ดที่ไม่สามารถจำแนกต่อจำนวน 3 ชนิดในไฟลัมเบสิดิโอมายโคตา และอีก 1 ชนิดในไฟลัมแอสโคมายโคตา เห็ดที่พบส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นทรงร่ม การเจริญของเห็ดพบทั้งประเภทกินซากและปรสิต โดยเห็ดส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลว่าสามารถกินได้หรือเป็นพิษหรือไม่ มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นอาหารได้ เห็ดบางชนิดสามารถพบได้ทุกปี เช่น เห็ดผึ้งพระ เห็ดแดงน้ำหมาก แต่เห็ดบางชนิดสามารถพบได้ในบางปีและยังไม่พบซ้ำอีก การศึกษาในครั้งนี้ได้ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของเห็ดในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากเห็ดต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE) เป็นผู้ถือลิสิทธิ์บทความทุกบทความที่เผยแพร่ใน JSSE นี้ ทั้งนี้ ผู้เขียนจะต้องส่งแบบโอนลิขสิทธิ์บทความฉบับที่มีรายมือชื่อของผู้เขียนหลักหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจแทนผู้เขียนทุกนให้กับ JSSE ก่อนที่บทความจะมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของวารสาร
แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
ทางวารสาร JSSE ได้กำหนดให้มีการกรอกแบบโอนลิขสิทธิ์บทความให้ครบถ้วนและส่งมายังกองบรรณาธิการในข้อมูลเสริม (supplementary data) พร้อมกับนิพนธ์ต้นฉบับ (manuscript) ที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้เขียนหลัก (corresponding authors) หรือผู้รับมอบอำนาจ (ในฐานะตัวแทนของผู้เขียนทุกคน) สามารถดำเนินการโอนลิขสิทธิ์บทความแทนผู้เขียนทั้งหมดได้ ซึ่งสามารถอัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) และไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนู “Upload Submission” ดังนี้
1. อัพโหลดไฟล์บทความต้นฉบับ (Manuscript) ในเมนูย่อย Article Component > Article Text
2. อัพโหลดไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form) ในเมนูย่อย Article Component > Other
ดาวน์โหลด ไฟล์แบบโอนลิขสิทธิ์บทความ (Copyright Transfer Form)
References
Boonlue, S. (2022). Fungal-Plant interaction (in Thai). Khon Kaen: Khon Kaen University Press.
Chandrasrikul, A. Suwanarit, P. Sangwanit, U. Morinaga, T. Nishizawa, Y. and Murakami, Y. (2008). Diversity of Mushrooms and Macrofungi in Thailand (in Thai). Bangkok: Kasetsart University Press.
Chandrasrikul, A. Suwanarit, P. Sangwanit, U. Lunyong, S. Payapanon, A. Sanoamuang, N. Pukahuta, C. Petcharat, V. Sardsud, U. Duengkae, K. Klinhom, U. Thongkantha, S. and Thongklma, S. (2011). Checklist of Mushrooms (Basidiomycetes) in Thailand. Bangkok: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning Bangkok, Thailand.
Forest Biodiversity Division. (2020). Yan Yao forest, Khao Wong forest and Krasuem forest (in Thai). Retrieved 7 July 2022, from http://fbd.forest.go.th/th/wp-content/uploads/2020/04/191-216-เห็ดรา-P-1.pdf
Kaewgrajang, T. (2019). Relationship between Environmental Factor and Species Diversity of Wild Edible Mushrooms at Sakaerat Environmental Research Station, Nakhon Ratchasima Province (in Thai). Thai Journal of Forest, 38(1), 53-65.
Rattanasuk, S. Choosrimeang, P. Khemphet, S. and Boongapim B. (2017). Species Diversity of Edible Mushrooms in Roi Et Rajabhat University Forest (in Thai). Rajabhat Agriculture Journal, 16(2): 27-32.
Sanoamuang, N. (2010). Wild Mushrooms of Thailand: Biodiversity and Utilization (in Thai). Bangkok: Universal Graphic and Trading Press.
Sutthikhampa, S. (2022). Survey of mushrooms on nature trail of watershed area, Rong-Kor forest, Ubon Ratchathani University. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 24(2), 81-89
Pitakpong, A. (2021). Survey of mushroom diversity in forest of University of Phayao (in Thai). Journal of Science, Engineering and Technology, 1(1), 30-36.
Pukahuta, C. Kantachotand, C. Suwanakood, P. Unphim U. Palasarn, W. and Sutthikhampa, S. (2014). Manual of Mushroom study in Ubon Ratchathani Zoo (in Thai). Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University Press.
Pukahuta, C. Kantachotand, C. Suwanakood, P. Palasarn, W. Unphim U. and Sutthikhampa, S. (2020). Manual of Mushroom study in Ubon Ratchathani Zoo 2 (in Thai). Ubon Ratchathani: Siritham Offset Press.
Wood, T. and Thomas, R. (1989). The mutualistic association between Macrotermitinae and Termitomyces. Insect-fungus interactions, 14, 69-92.
Ubon Ratchathani. (2022). About Ubon Ratchathani Province. Retrieved 25 October 2022, from http://ubonratchathani.go.th/home/464.html.