ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

วนันท์ดา ปราบภัย
นงลักษณ์ วิริยะพงษ์
มนชยา เจียงประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยี เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  70/70 (2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยี (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน     บ้านขุนหาญ  อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยี (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้  (3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ Hotelling’s T2 ผลการวิจัย พบว่า (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยี  มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 77.28/72.81 (2) ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยี เท่ากับ 0.5953 แสดงว่า นักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.53 (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และความสามารถใน     การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีสูงกว่าเกณฑ์   ร้อยละ 70 ที่ระดับนัยสำคัญ .05

Article Details

How to Cite
ปราบภัย ว., วิริยะพงษ์ น., & เจียงประดิษฐ์ ม. (2023). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 6(2), 280–292. https://doi.org/10.14456/jsse.2023.25
บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา

References

Chaluyrat, N. (2020). Development Mathematics Learning Achievement and Mathematical Problem Solving Ability on Equation of the Level 1 Vocational Certificate Students using Cooperative Learning Technique LT (in Thai). Master’s Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Kanchanamayun, S. (2002). Problem Solving (in Thai). Journal of Education Mathematics Science and Technology, 30(11), 50-52.

Kareeboon, S. (2021). A Study of Mathematics Learning Achievement and Satisfaction on Ratio, Proportion, and Percentage of Mathayomsuksa I Students by Using Active Learning Management with Information Technology Media (in Thai). Journal of Kasetsart Education Review, 36(3), 176-185.

Ministry of Education. (2017). Indicators and core learning content Mathematics learning group (2017 revised edition) according to the basic core curriculum of 2008 (in Thai). Bangkok: The Agricultural co-operative federation of Thailand, Ltd Printing.

National Institute of Educational Testing Service. (2020-2021). Basic National Educational Test Report (O-NET) (in Thai). Retrieved 7 June 2022, from NIETS: http://www.newonetresult.niets.or.th/Announce

mentWeb/School/ReportSchoolBySchool.aspx?mi=2.

Phisleum, N. (2016). Comparisons of Analytical Thinking, Mathematics Problem-Solving and Mathematics Achievement in Preliminary data analysis of Matthayomsueksa 5 Students with Cooperative LearningTogether (LT) activities and Learning normal (in Thai). Master’s Thesis. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Phooldee, W. (2020). Mathematics instruction in digital age: Methods and tools (in Thai). Journal of Science & Science Education, 3(2), 190-199.

Prachuabsook, P. (2019). Development of achievement on ratio and percentage problems through the use of skill exercise based on Polya’s problem solving procedures of grade-8 students at Kalasin College of Dramatic Arts (in Thai). Journal of Science & Science Education, 2(1), 12-22.

Prasertsang, P. (2019). The Development of Mathematics Learning Management plan on Statistics using Applications for Grade7, MuangMitWitthayakhom School (in Thai). Master’s Thesis. Roi Et: Roi Et Rajabhat University.

Sunthornroj, W. (2006). Innovation for learning (in Thai). Bangkok: Chang-Thong

Thitaya, P. (2019). Development of Mathematics Word Problem Solving Ability Using Poly’s Problem-Solving Process and Cooperative Leaning (TAI) for Grade6 Students (in Thai). Master’s Thesis. Bangkok: Dhurakij Pundit University.

Wilson, J. W. (1971). Evaluation of learning in secondary school mathematics. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. USA: MCGraw-Hil.