การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานร่วมกับการใช้งานทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ธรนินทร์ แย้มสุข
วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนบ้านโชคชัยพัฒนาในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 16 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ ใช้ระยะเวลาทั้งหมด 14 ชั่วโมง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานร่วมกับการใช้งานทางคณิตศาสตร์ 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการจัดชั้นเรียน 2) ขั้นการอธิบายวิธีการเล่น 3) ขั้นการสาธิตการเล่น 4) ขั้นการปฏิบัติและ 5) ขั้นการติดตามผล แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ ใบกิจกรรมและแบบทดสอบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ โดยพิจารณาตามองค์ประกอบย่อย ผลปรากฏว่านักเรียนร้อยละ 75.00 มีระดับการพัฒนาด้านความคิดคล่องมากที่สุด รองลงมาคือนักเรียนร้อยละ 62.50 มีระดับการพัฒนาด้านความคิดยืดหยุ่น และนักเรียนร้อยละ 25.00 มีระดับการพัฒนาด้านความคิดริเริ่ม

Article Details

How to Cite
แย้มสุข ธ., & พูนไพบูลย์พิพัฒน์ ว. (2023). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานร่วมกับการใช้งานทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 6(2), 303–319. https://doi.org/10.14456/jsse.2023.27
บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษา
Author Biographies

ธรนินทร์ แย้มสุข, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

Mathematics Education, Faculty of Education, Master of Education, Naresuan University

วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์, สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร

Assistant Professor , Ph.D. Faculty of Education, Naresuan University

References

Archawanuntakul, S. (2016). Board game universe, one board universe. Bangkok: Salmon.

Boonchu, P., Phetprapatsorn, S. and Khumraksa, B. (2022). Developing of science learning activities via STEAM education approach in the topic of “Let’s Design Your Zoo” to enhance creative thinking skills of primary school students (in Thai). Journal of Science and Science Education, 5(1), 107-123.

Cai, J. and Lester, F.K. (2010). Why is teaching with problem solving important to student learning. Retrieved June 10, 2022, from The National Council of Teachers of Mathematics: https://shorturl.asia/Zsw8L

Henningsen, M. and Stein, M.K. (1997). Mathematical Tasks and Student Cognition: Classroom-Based Factors That Support and Inhibit High-Level Mathematical Thinking and Reasoning. Journal for Research in Mathematics Education. 28(5), 524-549.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2021). PISA 2018 Assessment Results in Reading, Mathematics and Science. Bangkok: IPST.

Kaewmeechai, N. and Kijkuakul, S. (2020). Hands-on Learning approach with Tasks for Grade 5 Students’ Mathematical Creativity in Fractions and Mixed Numbers (in Thai). Journal of Kasetsart Educational Review. 36(2), 180-190.

Kemmis and Wilkinson, M. (1998). Participatory action research and the study of practice. London: Routledge.

Khaemanee, T. (2018). Teaching Science: Body of Knowledge for Effective Learning Process (in Thai). (22nd edition). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Ministry of Education. (2017). Indicators and learning subjects in the core of mathematics learning subject groups. (Revised Edition B.E. 2560) According to the Core Curriculum of Basic Education B.E. 2551 (in Thai). Bangkok: Agricultural cooperative printing demonstrations of Thai co., Ltd.

Smith, M. S. and Stein, M.K. (1998). Selecting and Creating Mathematical Tasks: From Research to Practice. Mathematics Teaching in the Middle School, 3(5), 344-350.

Stein, M. K., Smith, M. S., Henningsen, M., and Silver, E. A. (2000). Implementing standards - based mathematics instruction: A casebook for professional development. New York: Teachers College Press.

The National Council of Teachers of Mathematics. (2014). Implement Tasks That Promote Reasoning and Problem Solving, Principles to Actions: Ensuring Mathematical Success for All Produced. VA: NCTM.

Yamkruan, L. and Niwattanakul, S. (2016). The using of game-based learning for promote mathematics process skills of 6th grade students (in Thai). Journal of Information Science and Technology, 7(1), 33-41.