วิธีทำนายการยืนยันสิทธิเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก

Main Article Content

พัทธดนย์ จัยสิน
สุภาวดี หิรัญพงศ์สิน
ไพชยนต์ คงไชย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาโมเดลทำนายการยืนยันสิทธิเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกับการนำไปเพิ่มประสิทธิภาพของโมเดล 3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกและเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องแบบดั้งเดิมในการทำนายการยืนยันสิทธิเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย โครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Network) หน่วยความจำระยะยาว-ระยะสั้น (Long Short-Term Memory) แรนดอมฟอเรสต์ (Random Forest) นาอีฟเบย์ (Naive Bayes) และซัพพอร์ทเวกเตอร์แมทชีน (Support Vector Machine) กลุ่มตัวอย่างทดสอบ คือ ข้อมูลนักเรียนที่สมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในปีการศึกษา 2561-2564 จำนวน 4,479 คน การสร้างโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องแบบดั้งเดิมและการเรียนรู้เชิงลึกใช้ 11 คุณลักษณะ ได้แก่ คำนำหน้าชื่อ โรงเรียน ประเภทผู้สมัคร และเกรดรายวิชา 8 รายวิชา ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างโมเดลทั้งสอง พบว่า โมเดลการเรียนรู้เชิงลึกมีประสิทธิภาพดีกว่าโมเดลการเรียนรู้ของเครื่องแบบดั้งเดิม จึงทำการศึกษาหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่า โมเดลที่ดีที่สุดคือโครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชันโดยมีค่าความถูกต้องสูงถึงร้อยละ 64.68 และหน่วยความจำระยะยาว-ระยะสั้นมีสภาพเป็น overfitting ซึ่งไม่เหมาะสำหรับการนำไปใช้งาน สรุปได้ว่า โมเดลโครงข่ายประสาทแบบคอนโวลูชันเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับระบบทำนายการยืนยันสิทธิเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัย

Article Details

How to Cite
จัยสิน พ. ., หิรัญพงศ์สิน ส. ., & คงไชย ไ. . (2024). วิธีทำนายการยืนยันสิทธิเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามหาวิทยาลัยด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึก. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา (JSSE), 7(1), 10–20. https://doi.org/10.14456/jsse.2024.2
บท
บทความวิจัยทางวิทยาศาสตร์

References

Cheewaprakobkit, P. (2019). Improving the Performance of an Image Classification with Convolutional Neural Network Model by Using Image Augmentations Technique (in Thai). TNI Journal of Engineering and Technology, 7(1), 59-64.

Jitboonyapinit, C., Maneerat, P. and Chirawichitchai, N. (2022). Development of Sentiment Analysis Model Based on Thai Social Media Using Deep Learning Technique (in Thai). Huachiew Chalermprakiet Science and Technology Journal, 8(2), 8-18.

Kawaguchi, K., Kaelbling, L., and Bengio, Y. (2022). Mathematical Aspects of Deep Learning. United Kingdom: Cambridge University Press.

Nandal, P. (2020). Deep Learning in diverse Computing and Network Applications Student Admission Predictor using Deep Learning. Proceedings of the International Conference on Innovative Computing & Communications (ICICC) 2020 (pp. 1-5). India: University of Delhi.

Palwisut, P. (2016). Improving Decision Tree Technique in Imbalanced Data Sets Using SMOTE for Internet Addiction Disorder Data (in Thai). Information Technology Journal, 12(1), 54-63.

Paphat, A., Sriurai, W. and Ditcharoen, N. (2022). University student dropout prediction improved by feature selection with Multilayer Perceptron Neural Network (in Thai). Journal of Science and Science Education, 5(1), 39-48.

Suepitak, S., Nissaidee, B. and Buathong, W. (2021). Classification Techniques Comparison for Predicting Graduate Trend (in Thai). PKRU SciTech Journal, 5(2), 42-50.

Tongpuang, P. and Sanrach, C. (2021). The Comparison of Data Classification Efficiency to Predict Scholarship Awarded for Undergraduate Students by Data Mining Techniques (in Thai). Journal of Professional Routine to Research, 8(2), 44-52.

Tosasukul, J. and Kuttipon, S. (2022). An Efficiency Comparison of Forecasting Models for the Amount of Water in Dam by Data Mining Techniques (in Thai). Journal of Accountancy and Management, 14(4), 1-17.