ความสัมพันธ์เชิงสังคมของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ กรณีศึกษา จังหวัดหนึ่งในภาคใต้

ผู้แต่ง

  • เดโช แขน้ำแก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์เชิงสังคม, แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่า กลุ่มเบบี้บูมเมอร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสังคมของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ กรณีศึกษา จังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ทำการศึกษาเชิงปริมาณ มีประชากรเป้าหมาย ได้แก่ แรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ จำนวน 52 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์เชิงสังคมของแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่ากลุ่มเบบี้บูมเมอร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.49, S.D. = 1.06) ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ทำงานร่วมกับเพื่อนผู้ใช้แรงงานหรือเพื่อนร่วมงานที่มาจากประเทศอื่นได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.73, S.D. = 1.02) รองลงมาคือ ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จตามเป้าหมาย อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.53, S.D. = 1.23) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จตามระยะเวลาอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.29, S.D. = 0.99)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-20