ภาพแทนของเพศที่สามในสังคมผ่านบทละครโทรทัศน์เรื่อง“ใบไม้ที่ปลิดปลิว”
คำสำคัญ:
ภาพแทน, เพศที่สาม, บทละครโทรทัศน์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพแทนเพศที่สามในสังคมผ่านบทละครโทรทัศน์เรื่อง “ใบไม้ที่ปลิดปลิว” ซึ่งมีขอบเขตของการวิจัยจำนวน 21 ตอน โดยใช้แนวคิดภาพแทนเป็นแนวทางในการวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่าภาพแทนจากบทละครจำแนกได้ 5 ประเด็น ได้แก่ 1. ภาพแทนเพศที่สามด้านสังคมที่ตีกรอบการดำเนินชีวิตของเพศที่สาม 2. ภาพแทนเพศที่สามด้านครอบครัว การแสดงออกต่าง ๆ มีภูมิหลังมาจากครอบครัว 3. ภาพแทนเพศที่สามด้านความรัก เพศที่สามมักต้องพบเจอกับความรักที่ไม่สมหวัง 4. ภาพแทนเพศที่สามที่มีต่อตนเอง การยอมเปลี่ยนอัตลักษณ์เพศชายเป็นเพศหญิง และ 5. ภาพแทนเพศที่สามด้านสิทธิและเสรีภาพ สังคมกำหนดด้านอัตลักษณ์ทางเพศตั้งแต่ยังวัยเยาว์ ดังนั้น “เพศที่สาม” ในละครโทรทัศน์ จึงมีภาพแทนที่ถูกสร้างภายใต้การกำหนดจากสังคม มีการนำเสนอในแง่ลบ แต่ก็ยังพบการเปิดกว้างบางประการเกี่ยวกับเพศที่สาม อีกทั้งเพศที่สามเองก็ยังพยายามแสดงศักยภาพเพื่อสร้างพื้นที่การเป็นที่ถูกยอมรับจากสังคม