การพัฒนาพระสังฆาธิการตามหลักอปริหานิยธรรมของคณะสงฆ์ ในเขตพื้นที่อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • พระณัฐวุฒิ ธมฺมวีโร (แดงรอด) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูสิริธรรมาภิรัต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระครูธีรธรรมานุยุต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ปรรณพัชญ์ จิตร์จำนงค์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, พระสังฆาธิการ, หลักอปริหานิยธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาพระสังฆาธิการตามหลักอปริหานิยธรรม  ของคณะสงฆ์ในเขตพื้นที่อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาพระสังฆาธิการตามหลักอปริหานิยธรรมของคณะสงฆ์ในเขตอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ คณะสงฆ์ในเขตอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งหมด 128 รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง จากวิธีการสุ่มแบบเจาะจง  จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูล จากคำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลสำคัญตามวัตถุประสงค์การวิจัย โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบทกรอบงานวิจัย โดยรวบรวบข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2565

          ผลการวิจัยพบว่า : คณะสงฆ์ในเขตอำเภอพนม เห็นว่าการพัฒนาพระสังฆาธิการตามหลักอปริหานิยธรรมของคณะสงฆ์ในเขตอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านเคารพนับถือและรับฟังถ้อยคำของภิกษุผู้ใหญ่ รองลงมาคือ ด้านตั้งใจอยู่ว่าเพื่อนภิกษุสามเณรเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มาที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านยินดีในเสนาสนะอันควร ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาพระสังฆาธิการตามหลักอปริหานิยธรรมของคณะสงฆ์ในเขตอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1) ด้านหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ พบว่า ในสถานการณ์ปกติก่อนการมีโรคระบาดโควิด-19 คณะสงฆ์ในเขตอำเภอพนม มีการจัดประชุมเดือนละครั้ง มีการพบปะประชุมหารือกันสม่ำเสมอ เพื่อระดมความคิด แลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน แต่ปัจจุบันมีโรคระบาดโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถร่วมตัวกันได้ จึงทำให้การประชุมลดลง 2) ด้านพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึ่งทำ พบว่า มีการกำหนดกระบวนการ เนื้อหา กำหนดกรอบเวลาในการดำเนินการการประชุม มีการสรุปมติการประชุมที่ชัดเจน 3) ด้านไม่บัญญัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ พบว่า คณะสงฆ์ให้ความสำคัญในการรักษาสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เปรียบเหมือนรัฐธรรมนูญที่พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตาม 4) ด้านเคารพนับถือและรับฟังถ้อยคำของภิกษุผู้ใหญ่ พบว่า คณะสงฆ์ให้ความสำคัญต่อการแสดงความเคารพนับถือ รู้จักการมีสัมมาคารวะและมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อาวุโสหรือผู้ใหญ่ ส่วนในด้านการปกครองของคณะสงฆ์ ปกครองกันด้วยลำดับชั้นปกครอง 5) ด้านไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น พบว่า คณะสงฆ์ได้อาศัยหลักธรรมของพระพุทธเจ้า สร้างความรู้ความเข้าใจในหน้าที่ อยู่ในขอบเขต รู้จักการเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสที่ปกครอง และทำจิตใจให้สงบสามารถตัดกิเลสตัณหา ความอยากได้อยากมี 6) ด้านยินดีในเสนาสนะอันควร พบว่า คณะสงฆ์มีการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย ด้วยความสันโดษ ไม่แสวงหาลาภสักการะ ดำรงชีพปัจจัยเลี้ยงชีพเท่าที่จำเป็นเพียงเพื่อให้ร่างกายอยู่ได้ และ 7) ด้านตั้งใจอยู่ว่าเพื่อนภิกษุสามเณรเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มาที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข พบว่า คณะสงฆ์มีความเอื้อเฟื้อ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยินดีต่อสมาชิกใหม่และมีความปรารถนาดีต่อสมาชิกเก่า ให้การอารักขา คุ้มครองอันชอบธรรมแก่บรรพชิต เพื่อให้เกิดความเหลื่อมใส ศรัทธา และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-10