การบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • อาทิตย์ แสงเฉวก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • บุญเพ็ญ สิทธิวงษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • สุขพัฒน์ อนนท์จารย์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • วีรนุช พรมจักร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • วิระยา พิมพ์พันธ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการจัดเก็บภาษี
2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารการจัดเก็บภาษี และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษี ผู้วิจัยใช้รูปการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการนำเสนอเป็นตารางใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปร

แบบเป็นลำดับ ประกอบการอภิปรายผล และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 10 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยคัดเลือกและจําแนกข้อมูล จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ จัดทําบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล แล้วนําข้อมูลไปเขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย

        ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า การบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.12 S.D.=.31) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ อยู่ในระดับ ปานกลาง
( =3.10 S.D.=.34) ด้านบริการสาธารณะ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.19) และด้านประสิทธิผล อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.00 S.D.=.69) ตามลำดับ 2) ปัจจัยการบริหารการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี (โดยรวมทุกด้าน) ได้แก่ ด้านหลักอำนวยความสะดวก (X4) ด้านหลักความประหยัด (X3) ด้านหลักความเป็นธรรม (X1) ค่าสัมประสิทธิ์ (B) ของตัวแปรพยากรณ์ทั้ง 3 ตัวแปรมีค่าเท่ากับ .420, .276 และ .041 ตามลำดับ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารการจัดเก็บภาษี ต้องจัดเก็บจะต้องเป็นภาระแก่ผู้เสียภาษีน้อยที่สุดและค่าใช้จ่ายในการเก็บภาษีต่ำที่สุด ตลอดจนการชำระภาษีที่เปิดช่องทางให้ประชาชนสามารถชำระได้หลากหลาย ควรมีความเชื่อมโยงกับหลายหน่วยงาน และในบางครั้งการรับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากหน่วยงานอื่นหรือข้อมูลที่มีอยู่ไม่ถูกต้องจึงทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการประเมินภาษี แต่ก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้หากได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
จากอัตราภาษีและฐานที่นำมาคำนวณภาษีในการจัดเก็บภาษีในท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ประกอบกับการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่มีความแตกต่าง เนื่องจากลักษณะของทรัพย์สินในท้องถิ่นซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและในตัวเมืองเป็นพื้นที่ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นอัตราภาษีที่จัดเก็บและฐานภาษีจึงสมควรที่จะใช้อัตราที่แตกต่างกัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31