การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • บุญเพ็ญ สิทธิวงษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • อาทิตย์ แสงเฉวก -
  • กนกอร บุญมี มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, แนวชายแดน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชน ข้าราชการในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคายและบึงกาฬ จำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ


กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล

        ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.37) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการสนับสนุน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.11 S.D.=.37) ด้านการส่งเสริม อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.08 S.D.=.17) และด้านการประสานงาน อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.01 S.D.=.68) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดหนองคายและบึงกาฬ โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำX4 ด้านการประเมินผลX3 ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .425 และ .278 ตามลำดับ3) ควรมีการส่งเสริมที่พักที่ให้นักท่องเที่ยวและส่งเสริมกิจกรรมที่สามารถดึงดูดด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม โดยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมจากประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น วิทยุ แผ่นพับ โฆษณา อย่างครบวงจร ทั้งมีแก้ไขปัญหาโดยร่วมมือกับชุมชน และให้หน่วยงานรัฐเข้ามาส่งเสริมในการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมพร้อมทั้งให้หน่วยงานท้องถิ่นส่งเสริมประชาสัมพันธ์ผ่านภาคีเครือข่ายอย่างครบวงจร จัดเจ้าหน้าที่ให้บริการประสานงานอย่างจริงจัง โดยให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจประสานงานถ่ายทอดความรู้กับนักท่องเที่ยวเรื่องต่างๆ โดยการสร้างความประทับใจด้วยความพึงพอใจ ความเอาใจใส่และความต้องการของนักท่องเที่ยวในการบริการประสานงานด้านต่างๆ ให้คำแนะนำจากหน่วยภาครัฐอย่างจริงจัง และภาคีเครือข่ายเข้ามามีบทบาทในการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและจัดหาเอกสารและสิ่งของที่จําเป็นทั้งงบประมาณที่ใช้ในการดําเนินงานในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดแบบมีส่วนร่วม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31