การศึกษาโครงการยกระดับรายได้ครอบครัวเศรษฐกิจฐานรากตำบล คลองโยงหมู่ 1

ผู้แต่ง

  • ปวิตร มงคลประสิทธิ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจฐานราก, คลองโยง, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ยกระดับรายได้ให้กับเกษตรกรในชุมชนเศรษฐกิจฐานรากให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และ 2. ศึกษาการใช้เครื่องมือสื่อสารเพื่อการส่งเสริมการตลาดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีครอบครัวเป้าหมายในตำบลคลองโยง หมู่ 1 จำนวน 1 ครอบครัวโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกระหว่างครอบครัวเป้าหมาย เพื่อนบ้าน และตัวแทนชุมชน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาบูรณาการเป็นแนวทางในการพัฒนา 3 ขั้นตอนระดับเร่งด่วน คือ การแก้หนี้ครัวเรือน ระดับสืบเนื่อง คือการลดรายจ่าย พึ่งพาตนเอง และระดับสุดท้าย คือ การสร้างรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ผลการวิจัยพบว่าครอบครัวเป้าหมายมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และมีกำลังใจ แรงจูงใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้นต่อไป

References

เทศบาลตำบลคลองโยง. (2563). ประวัติความเป็นมา. เทศบาลตำบลคลองโยง. เรียกใช้เมื่อ เมื่อ 2 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.khlongyong.go.th/content/information/2

นภาภรณ์ หะวานนท์และ คณะ. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.

นันทิยา หุตานุวัตร และณรงค์ หุตานุวัตร. (2543). SWOT การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2560). เศรษฐกิจฐานราก. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). เรียกใช้เมื่อ เมื่อ 2 พฤษภาคม 2565 จาก https://web.codi.or.th/development_project/20201125-20029/

สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2538). นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

สุพรรณี ไชยอำพร. (2536). รายงานวิจัยเรื่องคุณภาพชีวิตของคนไทย : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างชาวเมืองกับชาวชนบท. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสน่ห์ จามริก. (2541). ฐานคิดสู่ทางเลือกใหม่ของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30