แนวทางการจัดการสื่อสารในประเด็นปัญหาทางสังคมผ่านการตระหนักรู้ของนิสิตสาขาการสื่อสารเพื่อการจัดการนวัตกรรม
คำสำคัญ:
การจัดการสื่อสาร, การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง, ประเด็นทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตระหนักรู้ปรากฎการณ์ด้านการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมในปัจจุบัน 2) วิเคราะห์แนวทางในการจัดการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมในปัจจุบัน จากมุมมองของนิสิตสาขาการสื่อสารเพื่อการจัดการนวัตกรรม โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการประชุมกลุ่มย่อยนิสิตสาขาการสื่อสารเพื่อการจัดการนวัตกรรม วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม จํานวน 7 กลุ่ม กลุ่มละ 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดกลุ่มข้อมูลตามหมวดหมู่ ผลการวิจัย สรุปได้ว่าพบ ประเด็นปัญหาทางสังคมผ่านกระบวนการเรียนรู้ของนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ได้แก่ (1) ประเด็น ข่าวลวงข่าวปลอม (2) ประเด็นการโฆษณาและให้ข้อมูลทางการตลาดเกินจริง (3) ประเด็นมารยาทในการ สื่อสาร (4) ประเด็นทักษะการสื่อสารระหว่างช่วงวัย (5) ประเด็นการสื่อสารด้วยภาษามือ (6) ประเด็นการ เข้าถึงนวัตกรรมการสื่อสารและการเรียนรู้ (7) ประเด็นการรู้เท่าทันสื่อของเด็ก (8) ประเด็นการรู้เท่าทันสื่อของ ผู้สูงอายุ (9) ประเด็นการนําเสนอเกี่ยวกับเพศที่หลากหลาย (10) ประเด็นสื่อลามกอนาจาร (11) ประเด็นการ สื่อสารสิ่งแวดล้อม (12) ประเด็นการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการสื่อสารที่เกี่ยวข้อง กับปัญหาและประเด็นทางสังคม คือ (1) การสื่อสารเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจ (2) การสื่อสารเพื่อการสร้าง การมีส่วนร่วม (3) การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ (4) การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการสื่อสาร (5) การใช้ มาตรการควบคุมหรือกฎหมาย (6) การสื่อสารระหว่างบุคคล (7) จริยธรรมทางการสื่อสารReferences
กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้ และอาแว มะแส. (2561). การสร้างแบบจําลองเครือข่ายทางสังคมบนเฟซบุ๊คสําหรับการจัดการปัญหาด้านความรักของผู้หญิง. วารสารพัฒนาสังคม, 20(1), 97-118.
กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2554). สื่อเก่า สื่อใหม่ ใจเชื่อมร้อย. ห้างหุ้นส่วนจํากัดภาพพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. สำนักพิมพ์ภาพพิมพ์. กรุงเทพมหานคร.
กรุงเทพธุรกิจ. (2562). แนะนํา 9 วิธีรับมือ เมื่อลูกโดน ‘บูลลี่’ ที่โรงเรียน. เรียกใช้เมื่อเมื่อ พฤษภาคม 28, 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/858979
กรมสุขภาพจิต. (2564). กรมสุขภาพจิตร่วมกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลบูรณาการทางวิชาการสื่อสารแรงงานข้ามชาติ เพื่อลดปัญหาสังคมจากการระบาดโควิด 19. เข้าถึงเมื่อ พฤษภาคม 28, 2564, จากhttps://www.dmh.go.th/covid19/news2/view.asp?id=41
คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์. (2560). ปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่นํามาสู่การฆ่าตัวตาย. ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล. เข้าถึงเมื่อ 28, 2564, จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article
ตรัยรัตน์ ปลื้มปิติชัยกุล และวรางคณา นิยมฤทธิ์. (2562). การสื่อสารในภาวะวิกฤต: กรณีศึกษาเหตุการณ์กราดยิงที่นครราชสีมา. วารสารสารสื่อศิลปะ, 2(3), 1-8.
เดอะแมทเทอร์. (2564). ปัญหาการสื่อสารใน ศบค. และคําชี้แจงจาก ‘ทวีศิลป์’. เรียกใช้เมื่อพฤษภาคม 28, 2564, จาก https://thematter.co/social/politics/ccsa-covid19 communication-problem/132631
ณัฏฐกาญจน์ ศุกลรัตนเมธี และนุชประภา โมกข์ศาสตร์. (2562). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเยาวชนเพื่อการเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย. สำนักวิจัยและพัฒนา, สถาบันพระปกเกล้า.
ประชาไท. (2554). การสื่อสารเพื่อสานสันติภาพในการลดความขัดแย้ง. เข้าถึงเมื่อ พฤษภาคม 28, 2564, จาก https://prachatai.com/journal/2011/04/34014
พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2560). การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม. วารสารวิชาการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(3), 97-102.
ภูริพัฒน์ แก้วตาธนวัฒนา. (2561). นวัตกรรมการสื่อสารดิจิทัลเกี่ยวกับกฎหมายสื่อสารมวลชนเพื่อส่งเสริมพัฒนาสังคมไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 118-130.
รัชชนก สวนสีดา. (2559). การพัฒนากระบวนการสื่อสารเพื่อการอนุรักษ์ลำน้ำมวกเหล็กอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, ฉบับพิเศษ, 183-189.
สายน้ำผึ้ง รัตนงาม, พระมหาประกาศิต ฐิติปสิทธิกร, พระปลัดประพจน์ อยู่สำราญ และพระเจริญพงษ์ วิชัย. (2565). การสื่อสารเพื่อพัฒนาสังคมในยุคปัญญาประดิษฐ์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 9(1), 179-190.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ความเคลื่อนไหวทางสังคม. ภาวะสังคมไทย, 20(4), 3-40.