ความต้องการคำปรึกษาของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คำสำคัญ:
อาจารย์ที่ปรึกษา, ความต้องการ, คำปรึกษาบทคัดย่อ
อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ที่รับมอบหมายในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา มุ่งเน้นให้นักศึกษาประสบความสำเร็จในการเรียน ความต้องการคำปรึกษาของนักศึกษาต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการในการให้คำปรึกษาของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการให้คำปรึกษาของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ ทำการสุ่มตัวอย่างจำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One way Anova
ผลการวิจัยพบว่า วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 นักศึกษามีความต้องการในการให้คำปรึกษามากที่สุดคือ ด้านวิชาการ สำหรับความต้องการในการให้คำปรึกษาในระดับมาก คือ ด้านการให้คำปรึกษา ด้านการพัฒนานักศึกษา ด้านสัมพันธภาพกับนักศึกษา และด้านการให้ความช่วยเหลือ วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 จากการเปรียบเทียบความต้องการในการให้คำปรึกษาของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาที่มีเพศต่างกัน มีความต้องการในการให้คำปรึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และนักศึกษาที่มีชั้นปีการศึกษา และเกรดเฉลี่ยสะสมต่างกัน มีความต้องการในการให้คำปรึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
References
กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2565). เรียกใช้เมื่อ 3 ธันวาคม 2565 จาก http://acdserv.kmutnb.ac.th/student_statistics?fbclid=IwAR1IetB2hcJvsq1Qz4r4kMk-1NbwdW3lCg00QZhtjYApNWaIul9gZbnTP6w
ชนม์ณภัทร เจริญราช. (2560). การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาวิชาการแก่นักศึกษาในหมู่เรียนของมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 1(2), 103-118.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. (2555). คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา. กองพัฒนานักศึกษา สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
มานะ รักษ์วงศ์. (2564). บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาด้านวิชาการตามสภาพที่เป็นจริงและตามความคาดหวังของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. Journal of Social Science and Humanities Research in Asia. 27(1), 127-174.
ปทิตตา เมฆาสวัสดิ์, ชูศักดิ์ เอกเพชร และสมคิด นาคขวัญ. (2563). การพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, 2(1), 63-76.
ปริวัฒน์ จันทร์ทรง. (2561). รายงานการศึกษาความคาดหวังและการรับรู้จริงต่อระบบอาจารย์ที่ปรึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ส่วนงานวิจัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รันดา รุจิชินวงศ์. (2559). การปฏิบัติตามบทบาทที่คาดหวังกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษาในทัศนะของนักศึกษาวิทยานานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 3(1), 79-95.
วรินธร สีเสียดงาม และสุพัตรา วิไลลักษณ์. (2561). ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(1), 15-26.
ศศิกาญจน์ แก้วคงคา. (2560). คู่มือสรรถนะวิชาชีพตำแหน่ง (Job competency) ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา. กองกลางสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สามารถ อัยกร. (2559). บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 10(2), 423-434.
เอื้องฟ้า เขากลม, นัตติกานต์ สมนึก และณวิสาร์ จุลเพชร. (2561). พฤติกรรมการขอรับคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษาและความพึงพอใจต่อระบบการให้คำปรึกษาของนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 10(2), 360-394.
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book.
Higbee, M.T. (1979). Journal of Educational Administration2. College and University Teaching.
Maslow, A.H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper & Row.
McClelland, D.C. (1965). Achievement and Entrepreneurship A Longitudinal Study. Journal Personality and Social Psychology. 1, 389-392.
Murray, H.A. (1983). Exploration in Psychology a Clinical and Experimental Study of Fifty Men of College Age. New York: Oxford University Press.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.