ความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัด สุริยะ ชวนปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความเป็นพลเมือง, วิถีประชาธิปไตย, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสำรวจความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด จำนวน 284 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า: 1. ระดับความคิดเห็นความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด โดยรวม อยู่ในระดับสูง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ไปต่ำสุด ได้แก่ ด้านเคารพกติกา รองลงมาคือ ด้านเคารพสิทธิผู้อื่น ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านรับผิดชอบต่อสังคม 2. ระดับความคิดเห็นความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด จำแนกตามสาขาที่เรียน 2.1 ด้านเคารพกติกา โดยรวมอยู่ในระดับสูง เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาโท) รองลงมาคือ หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาเอก) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาโท) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาเอก) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ตามลำดับ 2.2 ด้านเคารพสิทธิผู้อื่น โดยรวมอยู่ในระดับสูง เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาโท) รองลงมาคือ สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาเอก) หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาเอก) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ (ปริญญาโท) และสาขาวิชารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ตามลำดับ 2.3 ด้านรับผิดชอบต่อสังคม โดยรวมอยู่ในระดับสูง เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาโท) รองลงมาคือ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (ปริญญาเอก) สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาโท) สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา (ปริญญาเอก) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ (ปริญญาโท) และสาขาวิชารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต ตามลำดับ
3. แนวทางการพัฒนาความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด สรุปได้ดังนี้ ด้านการเคารพกติกา พบว่า ควรส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ทุกคนต้องยอมรับผลของการละเมิดกติกา เคารพกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายจะทำให้เกิดความยุติธรรมในสังคมได้ ด้านการเคารพสิทธิของผู้อื่น พบว่า บุคคลทุกคนควรยอมรับและปฏิบัติตามมติของคนส่วนใหญ่หรือเสียงข้างมากในสังคม แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยก็ตาม ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม พบว่า การแก้ปัญหาใดๆ ของนักศึกษาไม่ควรเรียกร้องผู้อื่นมาแก้ปัญหาให้ การแก้ปัญหาสังคมที่ดีควรเริ่มจากตัวนักศึกษาเอง โดยการไม่เป็นฝ่ายเริ่มก่อปัญหา การกระทำใดๆ ของนักศึกษาเอง ย่อมส่งผลดีหรือไม่ดีต่อสังคมและส่วนรวมได้ในที่สุด

References

คณะอนุกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ด้านพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองดี. (2554). ยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง พ.ศ.2553-2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายด้านพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

จรูญ พานิชย์ผลินไชย (2560). การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (ออนไลน์):https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tgt/article/view/67567 สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2566

จารุกัญญา อุดานนท์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครพนม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20 (2), 79-95.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชันส์.

อัจฉรา อยุทธศิริกุล. (2561). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถี. ประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย. ศิลปากร.

เอนก เหล่าธรรมทัศน์. (2554). การเมืองภาคพลเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สถาบัน พระปกเกล้า.

Burikul, W. et al., (2012). Citizenship in Thailand. Available from: http: www.thaiciviceducation.org/intages/resource/articles/ Citizenship in Thailand. [in Thai]

Hua, C.W. &Wan, K.E. (2011). Civic Mindedness: Component, Correlates and Implication for the Public Service. (Online). Available: http://cscollege.gov. sg/Knowledge/Page/Civic-Mindedness-Components, Correlates-andImplication- for-thePublic-Service. Aspx.

Likert, Renic. (1993). A Technique for the Measurement of Attitude. Chicago : Read Mc. Nally

Smart, D., et al. (2000). The Development of Civic Mindedness. [Online]. Available: http://www.aifs.gov.au/institute/pubs/fm2000/fm57/ds.pdf [2022, Sep 13].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30